๑.๒๗.๒๕๕๑

เยรูซาเลม



เยรูซาเลม (ฮีบรู: יְרוּשָׁלַיִם (Yerushalayim), อาหรับ: القُدس (อัลกุดสุ หรือ อัลบัยตุ อัลมักดิส), Al-Quds, กรีก: Ιεροσόλυμα, อังกฤษ: Jerusalem) เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 ได้รับการประกาศให้เป็น เมืองหลวงของประเทศอิสราเอล
จาก ค.ศ. 1948-1967 เยรูซาเลมแบ่งเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน และเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลในส่วนที่เป็นเยรูซาเลมตะวันตก ระหว่างสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 เยรูซาเลมตะวันออกจึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และตามกฎหมายซึ่งออกใน ค.ศ. 1980 เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ

ศาสนา

กรุงเยรูซาเลม เป็นศูนย์รวมด้านจิตวิญญาณของผู้เชื่อศรัทธา ในพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันถึง 3 ศาสนา ได้แก่ คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนายิว จึงเป็นสถานที่แสวงบุญของ ศาสนิกชนทั้ง 3 ศาสนา

ประชากร

กรุงเยรูซาเลม มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมืองโบราณแห่งนี้ชุมชนนับถือศาสนายิว คริสต์ศาสนา ลัทธิอาร์เมเนียน และชาวมุสลิม ชนชาวยิวต้องทนทุกข์ทรมานระหว่าง ค.ศ.1974-48 และได้รับการบูรณะใหม่ แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ให้บรรยากาศความเป็นชนชาติตะวันออก
ชาว
อาหรับแต่งกายแบบดั้งเดิมและทันสมัย คริสตชนได้รับอิทธิพลการแต่งกายทั้งจากตะวันตกและตะวันออก โรงสวด (Synagogue) วัด สุเหร่าและที่พักอาศัย มีรูปแบบต่างๆ กันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโมเสก (Mosaic) กลิ่นเครื่องเทศ สัญลักษณ์ของการปรุงอาหารแบบตะวันออก เสียงระฆังโบสถ์ที่กังวานและยาวนาน สัญญาณเรียกให้มาสวดมนต์ในสุเหร่ามุสลิม และท่วงทำนองเสียงสวดมนต์ของชาวยิวที่กำแพงตะวันตก หรือกำแพงร้องไห้ (Western Wal, Wailing Wall) เพิ่มเสน่ห์และชีวิตชีวาแก่เมืองนี้ บรรยากาศเหล่านี้สัมผัสได้เฉพาะในส่วนที่เป็นเมืองเก่า นอกกำแพงเมืองเยรูซาเลมเต็มไปด้วยบรรยากาศความทันสมัยทั้งถนน เส้นทางคมนาคม ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ โรงเรียน ร้านอาหารและร้านกาแฟ

ภาษา

ภาษาที่ผู้คนตามท้องถนนใช้มีทั้งภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับ และภาษาอังกฤษ แหล่งกำเนิดวัฒนธรรมที่หลายหลากและการเมืองที่ซับซ้อน

ด้านภูมิศาสตร์

เยรูซาเลมมีอาณาเขตติดกับทะเลเดดซี (Dead Sea) ทางด้านตะวันออก และข้างฝั่งแม่น้ำจอร์แดนเป็นเทือกเขาโมอาบ (Moab) ที่แห้งแล้ง ทางตะวันตกติดกับที่ราบชายฝั่งและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ห่างจากชายฝั่ง 58 กิโลเมตร ถนนหลวงเป็นเส้นทางสู่เมืองเยริโค (Jericho) ห่างประมาณ 57.6 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกทางเหนือมุ่ง สู่จอร์แดน และทะเลสาบกาลิลี ถนนอาลอน (Allon) หรือ ยิกัล (Yigal) ตัดผ่านทะเลทรายยูเดีย นำสู่เมืองสะมาเรีย

ประวัติศาสตร์

เยรูซาเลมเก่าและเยรูซาเลมใหม่รวมเป็นเมืองเดียวกันหลังสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 สถิติปี ค.ศ. 1993 มีประชากร 556,000 คน ในจำนวนนี้ 401,000 คน เป็นชาวยิว อาศัยในเยรูซาเลมใหม่ และอีก 139,000 คน อาศัยทางตะวันออกและเยรูซาเลมเก่า จำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีเพียง 16,000 คน นับถือศาสนาคริสต์
กรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่ง ความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว จากเนินเขาที่โล่งแจ้งนี้ บรรดา
ประกาศกและพระคริสตเจ้าเองทรงประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า และบท บัญญัติแห่งความรัก จากดินแดนนี้ไฟแห่งความเชื่อได้แพร่ไป พร้อมกับมุ่งขจัดความมืดมนแห่งการหลงผิด และการนับถือพระเท็จเทียมต่างๆ ให้หมด สิ้นไป "บทบัญญัติของพระเป็นเจ้าจะแพร่ไปจากศิโยน และพระวาจาของพระองค์จากกรุงเยรูซาเลม"
เมืองนี้เป็นเมืองหลวงทางศาสนาของประชากรราวครึ่งหนึ่งของมนุษยชาติ สำหรับชาวยิวเป็นสัญลักษณ์แห่ง
สิริมงคลดั้งเดิม และแห่งความหวังในอนาคต
สำหรับชาวคริสต์เป็นเมืองที่พระเยซูเจ้าทรงประกอบภารกิจในช่วงระยะเวลาสุดท้าย แห่ง
พระชนมชีพของพระองค์ เมืองที่ได้เป็นพยานถึงการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระองค์
สำหรับชาวมุสลิมเป็นเมืองที่พวกเขาเชื่อกันว่าศาสดา
มุฮัมมัดได้เสด็จสู่ฟากฟ้า
กรุงเยรูซาเลมแหล่งกำเนิดความเชื่อและสันติ เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ยังได้เป็นเมืองแห่งความทารุณโหดร้าย แห่งสงคราม และการหลั่งเลือด ณ ประตูเมืองแห่งนี้มีการสู้รบมากกว่าที่เมืองอื่นใด ในโลก กรุงเยรูซาเลมถูกล้อมมากกว่า 50 ครั้ง ถูกยึดถึง 36 ครั้ง และถูกทำลายมากกว่า 10 ครั้ง
ไม่มีผู้ใดทราบว่ากรุงเยรูซาเลมเริ่มมีตัวตนขึ้นมาเมื่อใด ครั้งแรกที่พระคัมภีร์พูดถึง คือ สมัยของ
อับราฮัม โดยมีชื่อว่า "ซาเล็ม" ซึ่งแปลว่า สันติสุข
"ท่านเมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ก็นำขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้ (ปฐก 14:18)
"ข้าพเจ้ายกมือสาบานตัวต่อพระพักตร์ผู้เป็นเจ้าพระเจ้าสูงสุด ผู้ทรงสร้างฟ้า
สวรรค์และแผ่นดิน" (ปฐก 14:22) ในศตวรรษ ที่ 10 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาวิดได้ยึดเมืองนี้และตั้งเป็นเมืองหลวง โดยนำหีบแห่งพันธสัญญามาประดิษฐาน

ช่วงเวลา

ปี 965-922ก่อนคริสตกาล กษัตริย์โซโลมอนได้ปรับปรุงเมืองนี้และสร้างพระวิหาร
ปี 587 ก่อนคริสตกาล
ชาวบาบิโลนได้ยึดกรุงเยรูซาเลม ทำลายพระวิหารและนำ
ชาวยิวไปเป็น
ทาสในบาบิโลน
ปี 538 ก่อนคริสตกาล ชาวยิวได้กลับสู่กรุงเยรูซาเลมและสร้างพระวิหารขึ้นใหม่
ปี 332ก่อนคริสตกาล
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดกรุงเยรูซาเลม
ปี 168ก่อนคริสตกาล
กษัตริย์อันติโอกุส เอปีฟาเนส ได้ทำลายกำแพงกรุงเยรูซาเลม
ปี 63ก่อนคริสตกาล ชาว
โรมยึดเมือง
ปี 37 ก่อนคริสตกาล เฮโรดได้แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ของชาวยิว พระองค์เป็นนักก่อสร้างและปรับปรุงกรุงเยรูซาเลมให้สวยงาม ได้สร้างกำแพงและพระวิหาร ขึ้นมาใหม่ให้สวยงามกว่าในสมัยของกษัตริย์ของ
เฮโรดนี้เป็นกรุงเยรูซาเลมที่พระเยซูเจ้าทรงรู้จัก
ปี ค.ศ.70 กรุงเยรูซาเลมถูกทำลายโดย
จักรพรรดิตีตัส
ปี ค.ศ.132-135 จักรพรรดิเอเดรียนได้สร้างกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่
ตามแบบของเมืองโรมัน ตั้งชื่อว่า "
เอลีอา กาปีโตลียา" และสร้างสักการสถานแด่พระเท็จเทียมบนซากของสักการสถานของชาวยิว และของชาวคริสต์ และพวกยิวถูกห้ามเข้าเมืองเด็ดขาด หากจับได้จะมีโทษมีประหารชีวิต
ปี
พ.ศ. 873(ค.ศ.330) จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราชผู้กลับใจ
ได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์
ปี
พ.ศ. 1157(ค.ศ.614) ชาวเปอร์เซียยึดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวัดวาอารามต่างๆ
ปี
พ.ศ. 1179(ค.ศ.636) กรุงเยรูซาเลมตกอยู่ภายในอำนาจของชาวอาหรับ
ซึ่งได้รักษาอำนาจนี้ตลอดมาเป็นเวลา 500 ปี
ปี
พ.ศ. 1642(ค.ศ.1099) กรุงเยรูซาเลมถูกยึดโดยครูเสดและกลับเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละติน
ปี
พ.ศ. 1730 (ค.ศ.1187) กรุงเยรูซาเลมถูกยึดโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของซาลาดิน
ปี
พ.ศ. 2060 (ค.ศ.1517) เมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก และอยู่ในการปกครองของพวกเขาตลอด 400 ปี
ปี
พ.ศ. 2460 (ค.ศ.1917) พันธมิตรได้ยึดกรุงเยรูซาเลมและให้อยู่ใต้การปกครองของทหารอังกฤษ
ปี
พ.ศ. 2491(ค.ศ.1948) สงครามระหว่างยิวและชาวอาหรับ กรุงเยรูซาเลมถูกแบ่งดินแดน ส่วนหนึ่งเป็นของรัฐอิสราเอล อีกส่วนเป็นของจอร์แดน
ปี
พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1967) ระหว่างสงคราม 6 วัน ชาวอิสราเอลได้ยึดกรุงเยรูซาเลมเก่า
ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจอร์แดน สถานการณ์ปัจจุบันยังยืดเยื้ออยู่ และชาวอาหรับรับไม่ค่อยได้ด้านประวัติศาสตร์ของคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปีที่ 33 ของสมัยปกครองของ
กษัตริย์เฮโรด ประมาณศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (5 B.C.) เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาบังเกิด ประมาณ 8 กิโลเมตรห่างจากกรุงเยรูซาเลม เหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตในกรุงเยรูซาเลมตามบันทึกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ เมื่อแม่พระและนักบุญยอแซฟ ถวายพระเยซูในพระวิหาร
พวกนักรบครูเสด (Crusader) ตามความเชื่อเป็นอัศวินของพระเจ้า ตามความเชื่อนี้ พวกนี้ไม่ใช่ คาทอลิก แต่เป็น โปร์แลด์น บางชื่อเรียกว่า อัศวินแทมพรา การแต่งกายตามแบบอัศวิน แต่จะแตกต่างตรงที่ ตามโล่ จะมีรูปไม้กางเขน

ไม่มีความคิดเห็น: