๑.๒๗.๒๕๕๑

เยรูซาเลม



เยรูซาเลม (ฮีบรู: יְרוּשָׁלַיִם (Yerushalayim), อาหรับ: القُدس (อัลกุดสุ หรือ อัลบัยตุ อัลมักดิส), Al-Quds, กรีก: Ιεροσόλυμα, อังกฤษ: Jerusalem) เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 ได้รับการประกาศให้เป็น เมืองหลวงของประเทศอิสราเอล
จาก ค.ศ. 1948-1967 เยรูซาเลมแบ่งเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน และเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลในส่วนที่เป็นเยรูซาเลมตะวันตก ระหว่างสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 เยรูซาเลมตะวันออกจึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และตามกฎหมายซึ่งออกใน ค.ศ. 1980 เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ

ศาสนา

กรุงเยรูซาเลม เป็นศูนย์รวมด้านจิตวิญญาณของผู้เชื่อศรัทธา ในพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันถึง 3 ศาสนา ได้แก่ คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนายิว จึงเป็นสถานที่แสวงบุญของ ศาสนิกชนทั้ง 3 ศาสนา

ประชากร

กรุงเยรูซาเลม มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมืองโบราณแห่งนี้ชุมชนนับถือศาสนายิว คริสต์ศาสนา ลัทธิอาร์เมเนียน และชาวมุสลิม ชนชาวยิวต้องทนทุกข์ทรมานระหว่าง ค.ศ.1974-48 และได้รับการบูรณะใหม่ แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ให้บรรยากาศความเป็นชนชาติตะวันออก
ชาว
อาหรับแต่งกายแบบดั้งเดิมและทันสมัย คริสตชนได้รับอิทธิพลการแต่งกายทั้งจากตะวันตกและตะวันออก โรงสวด (Synagogue) วัด สุเหร่าและที่พักอาศัย มีรูปแบบต่างๆ กันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโมเสก (Mosaic) กลิ่นเครื่องเทศ สัญลักษณ์ของการปรุงอาหารแบบตะวันออก เสียงระฆังโบสถ์ที่กังวานและยาวนาน สัญญาณเรียกให้มาสวดมนต์ในสุเหร่ามุสลิม และท่วงทำนองเสียงสวดมนต์ของชาวยิวที่กำแพงตะวันตก หรือกำแพงร้องไห้ (Western Wal, Wailing Wall) เพิ่มเสน่ห์และชีวิตชีวาแก่เมืองนี้ บรรยากาศเหล่านี้สัมผัสได้เฉพาะในส่วนที่เป็นเมืองเก่า นอกกำแพงเมืองเยรูซาเลมเต็มไปด้วยบรรยากาศความทันสมัยทั้งถนน เส้นทางคมนาคม ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ โรงเรียน ร้านอาหารและร้านกาแฟ

ภาษา

ภาษาที่ผู้คนตามท้องถนนใช้มีทั้งภาษาฮีบรู ภาษาอาหรับ และภาษาอังกฤษ แหล่งกำเนิดวัฒนธรรมที่หลายหลากและการเมืองที่ซับซ้อน

ด้านภูมิศาสตร์

เยรูซาเลมมีอาณาเขตติดกับทะเลเดดซี (Dead Sea) ทางด้านตะวันออก และข้างฝั่งแม่น้ำจอร์แดนเป็นเทือกเขาโมอาบ (Moab) ที่แห้งแล้ง ทางตะวันตกติดกับที่ราบชายฝั่งและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ห่างจากชายฝั่ง 58 กิโลเมตร ถนนหลวงเป็นเส้นทางสู่เมืองเยริโค (Jericho) ห่างประมาณ 57.6 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกทางเหนือมุ่ง สู่จอร์แดน และทะเลสาบกาลิลี ถนนอาลอน (Allon) หรือ ยิกัล (Yigal) ตัดผ่านทะเลทรายยูเดีย นำสู่เมืองสะมาเรีย

ประวัติศาสตร์

เยรูซาเลมเก่าและเยรูซาเลมใหม่รวมเป็นเมืองเดียวกันหลังสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 สถิติปี ค.ศ. 1993 มีประชากร 556,000 คน ในจำนวนนี้ 401,000 คน เป็นชาวยิว อาศัยในเยรูซาเลมใหม่ และอีก 139,000 คน อาศัยทางตะวันออกและเยรูซาเลมเก่า จำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีเพียง 16,000 คน นับถือศาสนาคริสต์
กรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่ง ความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว จากเนินเขาที่โล่งแจ้งนี้ บรรดา
ประกาศกและพระคริสตเจ้าเองทรงประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า และบท บัญญัติแห่งความรัก จากดินแดนนี้ไฟแห่งความเชื่อได้แพร่ไป พร้อมกับมุ่งขจัดความมืดมนแห่งการหลงผิด และการนับถือพระเท็จเทียมต่างๆ ให้หมด สิ้นไป "บทบัญญัติของพระเป็นเจ้าจะแพร่ไปจากศิโยน และพระวาจาของพระองค์จากกรุงเยรูซาเลม"
เมืองนี้เป็นเมืองหลวงทางศาสนาของประชากรราวครึ่งหนึ่งของมนุษยชาติ สำหรับชาวยิวเป็นสัญลักษณ์แห่ง
สิริมงคลดั้งเดิม และแห่งความหวังในอนาคต
สำหรับชาวคริสต์เป็นเมืองที่พระเยซูเจ้าทรงประกอบภารกิจในช่วงระยะเวลาสุดท้าย แห่ง
พระชนมชีพของพระองค์ เมืองที่ได้เป็นพยานถึงการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระองค์
สำหรับชาวมุสลิมเป็นเมืองที่พวกเขาเชื่อกันว่าศาสดา
มุฮัมมัดได้เสด็จสู่ฟากฟ้า
กรุงเยรูซาเลมแหล่งกำเนิดความเชื่อและสันติ เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ยังได้เป็นเมืองแห่งความทารุณโหดร้าย แห่งสงคราม และการหลั่งเลือด ณ ประตูเมืองแห่งนี้มีการสู้รบมากกว่าที่เมืองอื่นใด ในโลก กรุงเยรูซาเลมถูกล้อมมากกว่า 50 ครั้ง ถูกยึดถึง 36 ครั้ง และถูกทำลายมากกว่า 10 ครั้ง
ไม่มีผู้ใดทราบว่ากรุงเยรูซาเลมเริ่มมีตัวตนขึ้นมาเมื่อใด ครั้งแรกที่พระคัมภีร์พูดถึง คือ สมัยของ
อับราฮัม โดยมีชื่อว่า "ซาเล็ม" ซึ่งแปลว่า สันติสุข
"ท่านเมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด ก็นำขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้ (ปฐก 14:18)
"ข้าพเจ้ายกมือสาบานตัวต่อพระพักตร์ผู้เป็นเจ้าพระเจ้าสูงสุด ผู้ทรงสร้างฟ้า
สวรรค์และแผ่นดิน" (ปฐก 14:22) ในศตวรรษ ที่ 10 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์ดาวิดได้ยึดเมืองนี้และตั้งเป็นเมืองหลวง โดยนำหีบแห่งพันธสัญญามาประดิษฐาน

ช่วงเวลา

ปี 965-922ก่อนคริสตกาล กษัตริย์โซโลมอนได้ปรับปรุงเมืองนี้และสร้างพระวิหาร
ปี 587 ก่อนคริสตกาล
ชาวบาบิโลนได้ยึดกรุงเยรูซาเลม ทำลายพระวิหารและนำ
ชาวยิวไปเป็น
ทาสในบาบิโลน
ปี 538 ก่อนคริสตกาล ชาวยิวได้กลับสู่กรุงเยรูซาเลมและสร้างพระวิหารขึ้นใหม่
ปี 332ก่อนคริสตกาล
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดกรุงเยรูซาเลม
ปี 168ก่อนคริสตกาล
กษัตริย์อันติโอกุส เอปีฟาเนส ได้ทำลายกำแพงกรุงเยรูซาเลม
ปี 63ก่อนคริสตกาล ชาว
โรมยึดเมือง
ปี 37 ก่อนคริสตกาล เฮโรดได้แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ของชาวยิว พระองค์เป็นนักก่อสร้างและปรับปรุงกรุงเยรูซาเลมให้สวยงาม ได้สร้างกำแพงและพระวิหาร ขึ้นมาใหม่ให้สวยงามกว่าในสมัยของกษัตริย์ของ
เฮโรดนี้เป็นกรุงเยรูซาเลมที่พระเยซูเจ้าทรงรู้จัก
ปี ค.ศ.70 กรุงเยรูซาเลมถูกทำลายโดย
จักรพรรดิตีตัส
ปี ค.ศ.132-135 จักรพรรดิเอเดรียนได้สร้างกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่
ตามแบบของเมืองโรมัน ตั้งชื่อว่า "
เอลีอา กาปีโตลียา" และสร้างสักการสถานแด่พระเท็จเทียมบนซากของสักการสถานของชาวยิว และของชาวคริสต์ และพวกยิวถูกห้ามเข้าเมืองเด็ดขาด หากจับได้จะมีโทษมีประหารชีวิต
ปี
พ.ศ. 873(ค.ศ.330) จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราชผู้กลับใจ
ได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์
ปี
พ.ศ. 1157(ค.ศ.614) ชาวเปอร์เซียยึดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวัดวาอารามต่างๆ
ปี
พ.ศ. 1179(ค.ศ.636) กรุงเยรูซาเลมตกอยู่ภายในอำนาจของชาวอาหรับ
ซึ่งได้รักษาอำนาจนี้ตลอดมาเป็นเวลา 500 ปี
ปี
พ.ศ. 1642(ค.ศ.1099) กรุงเยรูซาเลมถูกยึดโดยครูเสดและกลับเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละติน
ปี
พ.ศ. 1730 (ค.ศ.1187) กรุงเยรูซาเลมถูกยึดโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของซาลาดิน
ปี
พ.ศ. 2060 (ค.ศ.1517) เมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก และอยู่ในการปกครองของพวกเขาตลอด 400 ปี
ปี
พ.ศ. 2460 (ค.ศ.1917) พันธมิตรได้ยึดกรุงเยรูซาเลมและให้อยู่ใต้การปกครองของทหารอังกฤษ
ปี
พ.ศ. 2491(ค.ศ.1948) สงครามระหว่างยิวและชาวอาหรับ กรุงเยรูซาเลมถูกแบ่งดินแดน ส่วนหนึ่งเป็นของรัฐอิสราเอล อีกส่วนเป็นของจอร์แดน
ปี
พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1967) ระหว่างสงคราม 6 วัน ชาวอิสราเอลได้ยึดกรุงเยรูซาเลมเก่า
ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจอร์แดน สถานการณ์ปัจจุบันยังยืดเยื้ออยู่ และชาวอาหรับรับไม่ค่อยได้ด้านประวัติศาสตร์ของคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปีที่ 33 ของสมัยปกครองของ
กษัตริย์เฮโรด ประมาณศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (5 B.C.) เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาบังเกิด ประมาณ 8 กิโลเมตรห่างจากกรุงเยรูซาเลม เหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตในกรุงเยรูซาเลมตามบันทึกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ เมื่อแม่พระและนักบุญยอแซฟ ถวายพระเยซูในพระวิหาร
พวกนักรบครูเสด (Crusader) ตามความเชื่อเป็นอัศวินของพระเจ้า ตามความเชื่อนี้ พวกนี้ไม่ใช่ คาทอลิก แต่เป็น โปร์แลด์น บางชื่อเรียกว่า อัศวินแทมพรา การแต่งกายตามแบบอัศวิน แต่จะแตกต่างตรงที่ ตามโล่ จะมีรูปไม้กางเขน

เนลสัน มันเดลา



เนลสัน โรลิห์ลาห์ลา มันเดลลา (Nelson Mandela เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้คนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตย ก่อนหน้านี้เป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ตินโดยใช้อาวุธ เช่นการก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่นมากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประนามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย และนอกประเทศแอฟริกาใต้ เนลสันเป็นที่รู้จักในฐานะนักต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกัน เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็กๆบนเกาะโรบเบน การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปีพ.ศ. 2537 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่้แห่งประชาธิปไตย ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ ที่ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่เชื่อว่า ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้อิทธิพลจากเนลสัน ขณะนี้ เนลสันมีอายุกว่า 90 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบุุคคลทางการเมืองบางคนยังยกย่องเขาในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส
มาดิบา เป็นชื่อใช้ขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลแมนเดลลาอย่างให้เกียรติ อย่างไรก็ดี ในแอฟริกาใต้ ชื่อนี้จะหมายถึงเนลสัน แมนเดลลา

๑.๒๒.๒๕๕๑

โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท


โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท

เกิดที่ ซาลสเบร์ก ออสเตรีย 27 มกราคม ค.ศ.1756
ตายที่ เวียนนา ออสเตรีย 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791


โมสาร์ท เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่ง ที่มีอัจฉริยภาพทางดนตรีมาแต่กำเนิด เมื่อเขายังเล็ก ๆ อยู่นั้น มักจะไปยืนเกาะฮาร์พซิคอร์ด ดูพ่อกำลังสอน Nannerl พี่สาวของเขาให้เล่นคลาเวียร์อยู่ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ดูไปดูมาก็อยากจะเล่นได้อย่างพี่สาว ก็เลยเอ่ยปากขอเล่นบ้าง แต่พ่อบอกว่ายังเด็กยังเล็กอยู่จะเล่นเห็นจะยังไม่เหมาะ ขอให้โตกว่านี้อีกหน่อยซิพ่อจะสอนให้เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 4 ขวบ พ่อก็เริ่มฝึกหัดให้เขาเรียนดนตรีอย่างจริงจัง โมสาร์ทสามารถเรียนรู้อะไร ๆ จากพ่อได้อย่างรวดเร็ว หูของเขาสามารถฟังเสียงดนตรีได้อย่างแม่นยำ และบอกเสียงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง พ่อเริ่มเห็นความสามารถพิเศษที่สวรรค์ประทานพรมาให้ลูกชายของเขาแล้ว จึงได้ตั้งใจทุ่มเทเวลามาฝึกหัด และวางรากฐานทางดนตรีตลอดจนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องให้แก่ลูกชายของเขาโวล์ฟกัง อมาเตอุส โมสาร์ท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1759 (พ.ศ.2295) ที่เมืองซาลสเบอร์ก ออสเตรีย เป็นลูกชายของ เลโอโปลด์ โมสาร์ท นักดนตรีผู้มีชื่อเสียงของออสเตรีย เป็นนักแต่งเพลงและครูสอนดนตรี มีความสามารถทางไวโอลินเป็นเยี่ยม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพ ที่ซาลสเบอร์ก แม่ชื่อ เฟรา อันนา โมสาร์ท เป็นผู้หญิงธรรมดาที่พอใจในงานแม่บ้านแม่เรือน และมีความรักลูก ๆ เหมือนแม่ทั้งหลาย โมสาร์ทมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน แต่ตายไปเสีย 5 คน คงเหลือแต่เพียงมาเรีย แอนนา หรือ Nannerl พี่สาวซึ่งมีอายุแก่กว่าเขา 4 ปี และตัวเขาเอง เพียง 2 คนเท่านั้น เด็กน้อยโมสาร์ทเป็นคนที่มีรูปร่างสง่า มีใบหน้าสวย มีริมฝีปากงามละไม จมูกโด่ง มีแววตาอ่อนโยนคล้ายผู้หญิง มีกิริยาละมุนละม่อมสงบเสงี่ยมและเป็นคนช่างคิดช่างฝันเมื่ออายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น โมสาร์ทก็มีความสามารถในการแต่งเพลงได้แล้ว เพลงแรกที่เขาแต่งนั้นคือการแต่งเติมเพลง minuet ของพ่อที่ได้แต่งค้างไว้ยังไม่เสร็จ ความไพเราะของเพลงตอนที่โมสาร์ทแต่งเติมนั้นไพเราะยิ่งนัก ทำความประหลาดใจแก่ผู้ได้ฟังเป็นอย่างมาก เมื่ออายุ 6 ปี ในวันเกิดนั้น โมสาร์ทได้รับไวโอลินเล็กๆ อันหนึ่ง เป็นของขวัญ จึงได้เริ่มเอาใจใส่กับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ และขอร้องให้พ่อสอนให้ แต่พ่อไม่เอาใจใส่บอกว่าเพียงแต่การเล่นคลาเวียร์ และการแต่งเพลงก็นับว่ามากพออยู่แล้ว แต่โมสาร์ทก็ไม่ยอมแพ้ จึงได้ยายามฝึกฝนด้วยตนเองต่อมาไม่นานนัก โมสาร์ทก็แสดงความสามารถทางไวโอลินให้ปรากฏในวันหนึ่ง ขณะที่มีการเล่นดนตรีกันที่บ้าน มีนักดนตรีมาร่วมเล่นกับพ่อของเขา โมสาร์ทขอร่วมวงด้วยพ่อไม่อนุญาต แต่ทนความรบเร้าของลูกชายไม่ไหวก็เลยอนุญาตให้เล่นด้วย แต่ให้เล่นเพียงเบา ๆ เมื่อเพลงทริโอเริ่มเล่นไปได้สักครู่ ทุกคนก็ต้องประหลาดใจเพราะโมสาร์ทสามารถเล่นได้อย่างมหัศจรรย์ ทุกคนพากันหยุดเล่น ได้แต่มองดูตากันไปมา และปล่อยให้โมสาร์ทเล่นไปคนเดียวจนจบเพลง จากความสามารถของโมสาร์ทครั้งนี้ ทำความทึ่งให้แก่พ่อของเขาไม่น้อย การศึกษาทางไวโอลินของโมสาร์ทจึงดำเนินไปอย่างจริงจังและพ่อก็ทำการซ้อมเล่นไวโอลินให้เขาพร้อมกับ Nannerl พี่สาวเกือบทุกวัน พ่อของโมสาร์ทได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะปั้นให้ลูกชายเป็นนักไวโอลินเอกของโลกให้ได้โมสาร์ท นอกจากจะมีความสามารถในการเล่นไวโอลินแล้วยังสามารถในการเล่นดนตรีชนิดอื่นอีก เช่น ออร์แกน คลาเวียร์ เพลงที่เขาแต่งก็ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของวิชาดนตรีทุกประการ เมื่อพ่อได้ประจักษ์ในความสามารถของลูกชายแล้ว จึงพาโมสาร์ทพร้อมด้วยมาเรีย แอนนาออกเดินทางไปแสดงดนตรีในที่ต่าง ๆ หลายแห่งทั่วยุโรป ปรากฎว่าได้รับความสำเร็จอย่างงดงามทุกแห่ง ผู้ฟังชื่นชมในอัจฉริยภาพของโมสาร์ทน้อยอยู่ทั่วกัน ชื่อเสียงของโมสาร์ทจึงรุ่งโรจน์มาตั้งแต่เยาย์วัย เขาได้รับความยกย่องนับถือจากวงสังคมทุกแต่ง ตั้งแต่ประชาชนเดินถนนจนถึงราชสำนัก โมสาร์ทได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากราชสำนักทุกแห่ง เช่น ออสเตรีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ การเดินทางไปแสดงดนตรีครั้งนี้พ่อของโมสาร์ทต้องการให้ลูกสาวและลูกชายได้มีโอกาสแสดงฝีมือทางดนตรีและเป็นการท่องเที่ยวไปด้วยสถานที่แห่งแรกของการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ เมืองมิวนิคที่นั้นโมสาร์ทและพี่สาวได้เล่นดนตรีถวายเจ้าชายแห่งบาวาเรีย และพระเจ้าโยเซฟที่ 3 จากนั้นก็เดินทางไปเล่นดนตรีถวาย พระนางมาเรีย เทเรซา ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย ซึ่งเป็นราชินีที่ยิ่งใหญ่พระหนึ่ง โมสาร์ทได้รับการจุมพิตจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ที่ได้ประทานให้แก่เขาด้วยความเอ็นดูแต่เหตุการณ์สำคัญที่โมสาร์จะลืมไม่ได้ก็คือ ระยะเวลาที่อยู่แสดงดนตรีในกรุงเวียนนานั้น โมสาร์ทได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับบรรดาพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระนางมาเรีย เทเรซา ในขณะนั้นมาสาร์ทอายุ 6 ขวบ พระราชธิดาพระองค์หนึ่งของพระนางมาเรีย เทเรซาได้ให้ความสนิทสนมต่อเขาอย่างมาก เคยกอดรัดโมสาร์ท เคยปลอบประโลมให้เขาหายเศร้า เป็นเพื่อนที่ดีของเขาในยามทุกข์ยากและยามสุข วึ่งจะเห็นได้ว่า ครั้งหนึ่งโมสาร์ทเข้าเฝ้าพระนางมาเรีย เทเรซา ซึ่งมีพระราชโอรสและพระราชธิดาอยู่พร้อม โมสาร์ทได้สะดุดดาบที่แขวน ขณะที่แต่งเครื่องแบบเต็มยศเข้าเฝ้าเพราะความไม่คุ้นเคย พระราชธิดาพระองค์นั้น ยังเข้าไปจูบปลอบเขาซึ่งกำลังร้องได้อยู่ให้คายได้ ซึ่งโมสาร์ทเองก็รู้สึกซาบซึ้งในมิตรภาพของพระราชธิดามาก จึงกล่าวตามประสาเด็ก ๆ ออกมาว่าเขาขอสัญญาว่าเมื่อเขาโตเป็นหนุ่มเขาจะขอแต่งงานกับพระนาง แต่โมสาร์ทในขณะนั้นคงไม่รู้หรอกว่า ขณะนั้นเขากำลังเผชิญหน้าอยู่กับพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งในเวลาต่อมา เพราะพระราชธิดาพระองค์นั้น ต่อมาก็คือพระนางมารี อังตัวเนตต์ มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสนั่นเองการได้รับการจุมพิตจากพระนางมาเรีย เทเรซา และการโอบกอดจากพระราชธิดา ควรนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ดีและรุ่งโรจน์สำหรับโมสาร์ทอย่างยิ่ง แต่อนิจจา สวรรค์หาได้โอบอุ้มชีวิตของเขาตลอดไปไม่ สวรรค์ช่างใจร้ายเหลือเกิน พรที่สวรรค์ประทานแก่โมสาร์ทในทางดนตรีเกือบจะไม่มีความหมายต่อเขาเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้เพราะสวรรค์มิได้ประสาทพรในด้านความรักให้แก่เขาเลย ดังนั้นแม้ว่าโมสาร์ทจะเป็นคนรูปหล่อน่ารัก เฉลียวฉลาด และมีอัจฉริยะในทางดนตรีก็ตาม แต่ในด้านความรักแล้วเขาค่อนข้างจะอาภัพอยู่สักหน่อย ซึ่งเราจะได้ดูกันต่อไป สำหรับงานทางดนตรี ในระหว่างที่โมสาร์ทยังเป็นเด็กนั้นเป็นงานที่มีผลทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปทั่วยุโรป จักรพรรดิ์ฟรังซิส ถึงกับทรงเรียกเขาว่า “ผู้วิเศษน้อย” เมื่ออายุ 7 ขวบ เขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตาเสร็จเป็นเพลงแรก อีกปีหนึ่งต่อมาเมื่ออายุ 8 ขวบ ก็แต่งซิมโฟนีได้สำเร็จในการเดินทางไปแสดงดนตรีที่อิตาลีนั้น โมสาร์ท ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก สมาคมชื่อ Philharmonic Society ในเมือง Bologna แต่ยังคงไม่ได้รับเกียรติเท่าที่ควร เนื่องจากโมสาร์ทยังเป็นเด็กอยู่ สันตปาปาก็ชื่นชมในความสามารถของเขาถึงกับแต่งตั้งให้เขาเป็น Cavalier และเป็น King of the Golden Cross ด้วย ซึ่งเป็นยศอัศวิน การให้เกียรติแก่นักดนตรีอย่างนี้ เคยให้แก่คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค มาแล้วเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้อิตาลี ในสายตาของโมสาร์ท เป็นนครที่เขารักมากที่สุดในชีวิต กล่าวได้ว่าโมสาร์ทหลงใหลใฝ่ฝันต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของอิตาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปรากรของอิตาลี แม้กระทั่งชื่อโมสาร์ทก็พยายามเปลี่ยนให้เหมือนชาวอิตาเลียน โดยได้เปลี่ยนชื่อกลางซึ่งเดิมชื่อ Gottlieb แปลว่า ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า มาเป็น Amadeus ซึ่งแปลว่าผู้เป็นที่รักของพระเจ้าเช่นเดียวกัน ตอนนั้นโมสามาร์ทหายใจเข้าออกเป็นอิตาลีไปหมด จนมีผู้กล่าวว่าโมสามาร์ทถูกมนต์ขลังของอิตาลีครอบงำจิตใจเสียแล้วอนาคตอันบรรเจิดจ้า เปล่งแสงงามระยับรอคอยโมสาร์ทอยู่ตลอดมานั้น ดูเหมือนจะดับวูบลงโดยกระทันหัน เพราะหลังจากที่โมสาร์ทและพ่อกลับมาซาลสเบอร์กแล้ว ก็ได้เข้าไปเล่นไวโอลินอยู่ในวง Orchestra ของ อาร์ชบิชอบ ซึ่งมีน้ำใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี แต่แล้วอาร์ชบิชอบ ผู้อารีก็สิ้นชีวิตลงขณะที่ อาร์ชบิชอบ ไฮโรนีมุส ผู้อารียังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สนับสนุนให้โมสาร์ทกับพ่อได้เดินทางไปเล่นไวโอลินในที่ต่าง ๆ เป็นประจำ ซึ่งทำให้สองพ่อลูกได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงและมีรายได้ไม่ขาดระยะ เมื่อ ไฮโรนีมุสHeironymus ตายไป Colloredo ได้ดำรงตำแหน่งแทน โมสาร์ทและพ่อถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปเล่นไวโอลิน โดยคำสั่งของท่านอาร์ชบิชอบคนใหม่ ดังนั้น โมสาร์ทจึงจำต้องลาออกจากวงดนตรีของอาร์ชบิชอบเมื่อขาดผู้ส่งเสริมให้เดินทางไปเล่นดนตรีในสถานที่ต่าง ๆ เช่นนั้น โมสาร์ทก็รู้สึกอึดอัดใจ เพราะนั่นหมายถึงว่าครอบครัวของเขาจะต้องทรุดหนักในด้านการเงิน ดังนั้น เขาจึงตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศเผื่อว่าจะประสบโชคเข้าบ้าง เขาเดินทางออกจากซารค์ลสเบอร์กไปพร้อมกับแม่ด้วยความอาลัยรักของผู้เป็นพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กมาจนกระทั่งเป็นหนุ่ม โมสาร์ทไม่เคยแยกจากพ่อเลย เห็นพ่อที่ไหนจะเห็นโมสาร์ทที่นั่น หรือเห็นมาสาร์ทที่ไหนก็จะต้องเห็นพ่อของเขาที่นั่น ทั้งสองเป็นประหนึ่งบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นเมื่อต้องมาแยกจากกันเป็นครั้งแรกเช่นนี้ ความรักความอาลัยของผู้เป็นพ่อย่อมจะต้องมีเป็นธรรมดา พ่อของโมสาร์ทยืนน้ำตาคลอหน่วยโบกมือให้แก่โมสาร์ท ผู้ซึ่งกำลังจะเดินทางไปหาความมั่นคงมาให้แก่ครอบครัว พ่อของโมสาร์ทนั้น ถึงแม้จะเศร้าใจเพียงใดก็ต้องตัดใจปล่อยให้ลูกไป โดยกำชัยผู้เป็นแม่ให้คอยควบคุมดูแลลูกให้ดี นี่จะเห็นได้ว่า โมสาร์ท่ถึงแม้ในขณะนั้นจะเป็นหนุ่มแล้ว แต่ก็ยังเป็นเด็กในสายตาของพ่อแม่เสมอการเดินทางของโมสาร์ท พร้อมกับแม่ครั้งนี้ ไม่ได้ผลสมปรารถนา เพราะเขาไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร ดังนั้นเงินทองที่นำติดตัวไปด้วยก็ร่อยหรอลงไปทุกวัน แม่ของเขารู้สึกเศร้าใจในโชคชะตาของลูกและครอบครัวเป็นอย่างยิ่งขณะที่อยู่ใน มันน์ไฮม์ โมสาร์ทพบวง Orchestra ดีที่สุดในยุโรป ณ ที่นี้เองเขาได้แต่งเพลงให้แก่เจ้าเมืองของมันน์ไฮม์ หลายเพลงด้วยกัน โดยหวังว่าคงได้รับตำแหน่งอยู่ในราชสำนักบ้าง แต่ว่าสิ่งที่โมสาร์ทได้รับนั้น มันไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่อะไรที่ไหน มันเป็ฯเพียงคำเยินยอหลอกใช้เท่านั้นเอง ณ ที่มันน์ไฮม์นี่เองโมสาร์ทเริ่มสนใจเปียโน ซึ่งเขาชอบมากกว่าฮาร์พซิคอร์ด และคลาวิคอร์ด โมสาร์ทเล่นได้ดีมากทีเดียว ทำความพิศวงแก่ผู้ที่ได้ฟังทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งนิยายรักของดมสาร์ทได้เริ่มขึ้นที่ มันน์ไฮน์นี้เช่นกัน โดยที่โมสาร์ทได้ตกหลุมรักของหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อ อลอยเซีย เวเบอร์ แม่ของโมสาร์ทรีบรายงานพฤติการณ์ณ์ของลูกชายไปให้ผู้เป็นพ่อทราบทันที พ่อของโมสาร์ทรู้สึกตกใจมาก เขียดจดหมายสั่งให้โมสาร์ทรีบไปหางานทำในปารีสทันทีเมื่อกลับมายังปารีสอีกครั้ง ปรากฎว่าขุนนางและชาวฝรั่งเศสซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้การต้อนรับเขาอย่างเกรียวกราว เคยเข้าไปรุมล้อมจูบโมสาร์ททั้งหน้าหลัง เมื่อครั้งเขาไปเล่นไวโอลินในขณะที่ยังเป็นเด็ก แต่การกลับมาคราวนี้ โมสาร์ทต้องประสบความผิดหวังอย่างมาก ซึ่งเพิ่มความช้ำใจให้แก่เขาอีก หลังจากต้องพรากจาก อลอยเซียมาแล้ว ทั้งนี้เพราะโมสาร์ทไม่ได้รับนิยมเสียแล้ว ชีวิตของเขาต้อนนี้ดูเหมือนจะถูก “ผีซ้ำด้ำพลาย” เป็นการใหญ่ เพราะในขณะที่อยู่ในนครปารีสนั้นเอง แม่ของเขาก็สิ้นชีวิตลงโดยกระทันหัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1778 ก่อให้เกิดความเศร้าสลดแก่โมสาร์ทเป็นอย่างมากดังนั้นโมสาร์ทจึงกลับไปซาร์ลสเบอร์ก และได้เข้าร่วมอยู่ในวงดนตรีของอาร์ชบิชอบ โคลโลเรโดอีก โคลโลเรโดได้นำวงดนตรีเดินทางไปแสดงที่กรุงเวียนนา ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ.1781 การเดินทางไปครั้งนี้เป็นที่พอใจของโมสาร์ทมาก เพราะเขาจะได้ไปยังเมืองที่เขารักมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อ โคลโลเรโด สั่งให้วงดนตรีย้ายไปเล่นที่อื่น โมสาร์ทรู้สึกไม่พอใจจึงลาออกโมสาร์ท ได้แต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ น้องสาวของอลอยเซีย เวเบอร์ ซึ่งเขาเคยรักมาก่อนนั่นเอง โมสาร์ทได้นำเอาชื่อของเมียไปตั้งเป็นชื่อของนางเอกในอุปรากรที่เขาเขียนขึ้นชื่อ The Escape from Seraglio โมสาร์ทได้นำอุปรากรเรื่องนี้ไปแสดงที่กรุงเวียนนา แต่ก็ไม่ได้ผล คนดูเดินออกก่อนอุปรากรเลิกทุกรอบ แต่อย่างไรก็ตามจากอุปรากรเรื่องนี้ จักรพรรดิ์โจเซป ได้รับโมสาร์ทไว้ในวงดนตรีของพระองค์ เพราะพระองค์ชอบอุปรากรของโมสาร์ทมาก ถึงกับออกปากชมเชยอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้วาจักรพรรดิ์โจเซฟจะทรงอุปถัมภ์โมสาร์ทด้วยความพอพระทัยในฝีมือเขียนอุปรากรของเขาก็ตาม แต่พระองค์ให้เงินค่าตอบแทนต่อนักแต่งเพลงผู้นี้น้อยเหลือเกิน จนกระทั่งโมสาร์ทกล่าวกับตนเองอยู่เสมอว่า เขาพยายามสร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อคนอื่นจนสุดความสามารถของตน แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากันเลยงานในด้านแต่งเพลงของโมสาร์ทเด่นขึ้น เมื่อเขาได้มีโอกาสรู้จักกับไฮเดิน นักคนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเวียนนาและได้เป็นผู้สอนการเขียนเพลง ควอเตท ให้แก่โมสาร์ท จากนั้นโมสาร์ทได้แต่งเพลง String quartets ขึ้นหลายเพลง ซึ่งไพเราะมาก เขาได้อุทิศ quartet ตลอดจนให้กำลังใจแก่เขา ความจริงไฮเดินก็ได้บางสิ่งบางอย่างไปจากโมสาร์ทเหมือนกัน ไฮเดินมีความชื่นชมในการเล่นเปียโนของโมสาร์ทมาก ไฮเดินเคยกล่าวกับพ่อของโมสาร์ทเมื่อครั้งที่เลโอโปลด์ไปเยี่ยมลูกชายที่เวียนนา “ผมขอประกาศต่อท่านด้วยเกียรติยศว่า ลูกชายของท่านเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา” (I declare to you upon my honor that I consider you son the greatest composer that I have heard)ในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวของเขา หลังจากการแต่งงานได้ 9 ปี โมสาร์ทได้รับความสุขบ้างพอสมควร เขา มีลูกกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ ทั้งหมดด้วยกัน 6 คน หลังจากนั้นการดำรงชีพชักฝืดเคืองเพราะมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย เมียเป็นคนใช้เงินเก่ง ทั้งการบ้านการเรือนไม่ค่อยเอาใจใส่เท่าที่ควร ครอบครัวของโมสาร์ทจึงประสบมรสุมทางการเงินอย่างหนัก ต้องกู้หนี้ยืมสินมาประทังชีวิตในครอบครัว และตัวโมสาร์ทเองก็ต้องทำงานอย่างหนักงานของโมสาร์ทีมากกว่า 200 ชิ้น นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลงชั้นยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง เริ่มตั้งแต่เพลง String quartets ที่เด่นที่สุด 10 เพลง, Piano quartets 2 เพลง, Piano quintets อีก 2 เพลง, Piano concertos 30 กว่าเพลง, Violin concertos 7 เพลง, Flute concertos 3 เพลง, อุปรากร 22 เรื่อง, ซิมโฟนีเขียนไว้ 41 เพลง นอกจากนั้นยังมีอื่น ๆ อีกมากงานด้านอุปรากรนั้น ในปี ค.ศ.1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับ ลอเรนโซ ดา พอนเต้ ซึ่งเป้นผู้เชียวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนา เขียน ‘Marriage of Figaro’ ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังหวัง แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย (เชคโกสโลวาเกีย) ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ.1787 เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี สำเร็จ ซิมโฟนีรุ่นสุดท้ายมี 3 เพลง ซึ่งเป็นซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของโมสาร์ทสำเร็จลงภายในระหว่างฤดูร้อนของปี ค.ศ.1788 ได้แก่เพลงซิมโดนีนัมเบอร์ 39 E Flat Major, นับเบอร์ 40 G Minor, นับเบอร์ 41 C Major (‘Jupiter’) ซึ่งมีความเด่นเป็นเอกกว่าซิมโฟนีทั้งหลายของโมสาร์ท สำหรับนับเบอร์ 41 ที่ชื่อ Jupier นี้ไม่ทราบว่าใครเป็นคนตั้ง เพราะโมสาร์ทไม่ได้เป็นคนตั้ง อุปรากรที่ร่วมกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ เมื่อปี ค.ศ.1790 อันหลังสุดได้แก่ Cosi Fan Tutteโมสาร์ทได้เขียนเพลงมากมาย ยิ่งเขียนมากขึ้นเท่าไหร่แนวการเขียนก็ยิ่งแปลกขึ้นเท่านั้น และไม่ค่อยจะซ้ำแบบเดิม ซึ่งเป็นการยากที่นักแต่งเพลงอื่น ๆ จะทำได้ อุปรากรเรื่องสุดท้ายในชีวิตของโมสาร์ท คือ The Magic Flute ซึ่งเขียนขึ้นขณะที่กำลังป่วยและอยู่ในภาวะเศร้าโศก เพราะมีเรื่องคับแค้นในเรื่องครอบครัว แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏว่าท่วงทีทำนองและลีลาของเพลงเต็มไปด้วยชีวิตและร่าเริงแจ่มใส เพลงนี้เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1791โมสาร์ทได้พยายามแต่งเพลง Requiem (เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคาน์ท์ลัวเซกก์ เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ภรรยาที่ตายไปแล้ว โมสาร์ทแต่งไปได้ไม่มากนักก็เสียชีวิตเสียก่อน ตกลงก็เป็นอันว่าเพลง Requiem นี้แต่งขึ้นเพื่องานศพของตนเอง เพราะต่อมาวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 โมสาร์ทก็จากโลกไปด้วยโรคไข้ไทฟลอย์ที่เวียนนา เขาตายขณะที่กำลังยากจนแสนเข็ญ และมีหนี้สินรุงรัง ภรรยาไม่มีเงินจะทำศพให้สามี เอเฟน ฟาน สวีเดน ผู้ใจบุญได้ช่วยจัดการในพิธีฝังศพให้ขณะที่โมสาร์ทตายนั้น เขาอายุเพียง 35 ปีเท่านั้น เขาตายอย่างน่าอนาถ เพราะเขาต้องเผชิญกับความหิว ความหนาวและเข็ญใจ ไร้ญาติขาดมิตร ขณะที่นำศพไปฝังในตอนบ่ายวันที่เขาตายนั้น มีพายุฝนอย่างรุนแรง หิมะและลูกเห็บตกลงมาอย่างหนัก ทำให้คนเดินติดตามไปฝังศพต้องยอมแพ้ไม่ยอมตามไป ภรรยาของเขาก็ไม่ได้ตามไปด้วยเพราะกำลังป่วยอยู่ ฉะนั้น จึงไม่มีญาติมิตรคนใดไปดูการฝังศพของเขา คงปล่อยให้สัปเหร่อ 2-3 คน จัดการไปตามลำพัง ณ ป่าช้าสำหรับคนอนาถาที่ เซนต์ มารุกซ ในกรุงเวียนนา โดยไม่ได้ทำเครื่องหมายอันใดไว้เลย เพราะทำกันอย่างรีบ ๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง พอมีการระลึกถึงคุณค่าทางดนตรีของเขาขึ้นมา ต้องการที่จะคาราวะศพ และจะจัดสร้างอนุสาวรีย์ให้แก่เขา ก็ไม่สามารถจะค้นหาหลุมฝังศพของเขาพบ นี่แหละคือชีวิตของ โวล์ฟ กัง อมาเดอุส โมสาร์ท นักดนตรีชื่อก้องโลกผู้อาภัพที่สุด

Vienne (Autriche)

Vienne (Autriche)






Vienne (Wien [viːn] en allemand) est la capitale de l'Autriche. Elle est en même temps Land (État fédéré), en allemand Bundesland Wien. Elle est située à l'est du pays, et traversée par le Danube (Donau). Elle fut la capitale du Saint Empire romain germanique ainsi que de l' Archiduché d'Autriche, de l' Empire d'Autriche (1804-1866) et plus tard de la double monarchie, communément appelée Autriche-Hongrie (1867-1918).
Peuplée d'environ 1 631 082 d'habitants (2005), elle est un important centre politique international, notamment en raison de la
Neutralité autrichienne, puisqu'y siègent l'OSCE, l'OPEP et diverses agences des Nations unies, comme l'Agence internationale de l'énergie atomique ou l'ONUDI. Elle a également été le lieu de signature d'un grand nombre de traités internationaux comme la Convention de Vienne.



Histoire








L'origine de Vienne remonte au VIe siècle avant l'ère chrétienne, lorsque des Celtes y fondèrent une cité sous le nom Vindobona (ville blanche). En 15 av. J.-C., Vindobona devient un important fort romain de la province de Pannonie, défendant le limes, la frontière de l'Empire romain, qui fait face aux peuples germains situés plus au nord. Les vestiges archéologiques de la période romaine de Vienne sont néanmoins extrêmement modestes.
Au cours du
Moyen Âge, Vienne devient successivement le siège des Babenberg (comtes puis ducs d'Autriche), puis des Habsbourg. Lorsque ces derniers accèdent au statut d'empereur, la ville devient la capitale du Saint Empire romain germanique. Elle est cependant rapidement confrontée à la montée en puissance de l'empire ottoman dont les troupes l'assiégèrent à deux reprises (XVIe et XVIIe siècles).
En
1529, premier siège de Vienne, par les troupes sous les ordres de Soliman le Magnifique. La résistance des Viennois et des 20 000 soldats emporta la décision.
En
1683, lors du second siège, Vienne dut son salut à Charles V de Lorraine et à l'intervention des troupes polonaises de Jean III Sobieski. Le grand vizir Kara Mustafa, commandant les troupes turques, fut décapité par le sultan Mehmed IV.
En
1815, grâce au talent de Metternich, Vienne est le siège du congrès éponyme, qui définit la géopolitique pour un demi-siècle d'une Europe sortie des guerres napoléoniennes.
De
1918 à 1934, Vienne fut surnommée Vienne la rouge, en raison de l'arrivée au pouvoir d'une coalition de sociaux-démocrates et de chrétiens-sociaux.





๑.๒๑.๒๕๕๑

Pompeii





ปอมเปอีเป็นเมืองโบราณสมัย 2,000 ปีมาแล้ว อยู่ที่เชิงภูเขาไฟวิสุเวียส ประเทศอิตาลี ซึ่งถูกภูเขาไฟลูกนี้ระเบิดเอาดินโคลน เถ้าถ่าน และหินละลายทับถมจมลงไปในดินในชั่วเวลาไม่กี่นาทีเมื่อ พ.ศ.662 ประชาชนนับหมื่นต้องถูกฝังทั้งเป็นตาย ด้วยความทุกข์ทรมานโดยที่ไม่มีใครมีโอกาสหนีรอดออกมาได้เลย และหลังจากนั้นปอมเปอีก็ถูกลืมไปจากความทรงจำของชาวโลกต่อเมื่อได้มีการฟื้นฟูศึกษาประวัติศาสตร์โบราณขึ้นชื่อปอมเปอีจึงถูกค้นพบ แต่ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเมืองนี้อยู่ที่ไหน จนกระทั่ง พ.ศ. 2291 จึงได้พบร่องรอยของซากเมืองและมีการขุดค้นกันเมื่อก่อนหน้ามหายุทธสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย เมื่อรื้อดินที่ทับถมออกมาหมดแล้ว ก็พบซากเมืองที่ใหญ่โต และสร้างด้วยหินอย่างแข็งแรง บางแห่งพบซากชาวปอมเปเอียน และสัตว์เลี้ยงของเขาที่ตายและกลายเป็นหิน ซึ่งคงอยู่ในสภาพเกือบเหมือนเดิมทุกประการ แต่ทว่าจากภาพนั้น จะเห็นลักษณะของความหวาดกลัวต่อความตายได้เป็นอย่างดี บางคนนั่งเอามือปิดหน้าตาย และบางคนซบหน้ากับ กำแพงบ้านตายก็มี ปอมเปอีจึงได้ชื่อว่า ซากเมืองแห่งความตาย

ศิลป์ พีระศรี












ศิลปินเอกชาวอิตาลี ที่โอนสัญาชาติมาเป็นไทยเริ่มรับราชการในสมัย ร.6 เป็นผู้
วางรากฐานด้านหลักสูตรศิลปะที่สำเร็จจากโรงเรียนเพาะช่างให้มีมาตรฐานความรู้เดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรปตั้งเป็นโรงเรียนศิลปากรต่อมาในสมัยจอมพลป.ให้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ศิลป์เป็นผู้มีฝีมือทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมอย่างยอดเยี่ยมท่านได้อุทิศและทุมเทชีวิตทั้งหมดของท่านให้กับประเทศไทยเป็นที่รักของลูกศิลป์มากมายในสาขาจิตรกรรมและประติมากรรมมีรูปปั้นบุคคลสำคัญมากมายของไทยจากฝีมือของท่าน


ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci เมื่ออายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence)
ปี
พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี
พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา
ในสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของ ประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ "
โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ. 2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับ
พระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่
โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน


อาคารโบราณทรงสูงชั้นเดียว มีหน้าต่างใหญ่ 3 บาน เป็นกระจกใส สามารถเปิดรับแสงและลมจากธรรมชาติได้ตลอดวันโดยไม่ต้องใช้แสงสว่างจากไฟฟ้า ที่ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2467 โดยการออกแบบของศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ผู้สำเร็จการศึกษาจากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence) ที่เดินทางจากนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ได้รับการวินิจฉัยจากสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ คัดเลือกจากศิลปินอิตาเลียนจำนวนมากที่ต้องการเพียงหนึ่งเดียว ก็นับว่าเป็นเรื่องดีของประเทศและของประชาชนชาวสยาม ที่ได้ท่านมาไว้ในประเทศสยาม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา โดยใช้อาคารนี้เป็นสถานที่ทำงานเรื่อยมาจนตลอดอายุขัยของท่าน
วันที่ 12 ตุลาคม 2486 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรก "คณบดีปฏิมากรรม" ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้วางรากฐานการเรียนการสอนในบททฤษฏีและปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านศิลปร่วมสมัยในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมันกับญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และหลวงวิจิตรวาทการได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญๆ ของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชนุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล การปั้นต้นแบบของงานอนุสาวรีย์ ท่านจะใช้อาคารที่ทำงานของท่านในตึกสูงทรงโบราณที่เป็นประวัติศาสตร์ในอดีต ในปัจจุบันนี้ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 กรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สูญเสียท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งสถาบันและวงการศิลปร่วมสมัยของไทยไปอย่างสิ้นเชิง คงทิ้งไว้แต่ความทรงจำต่อความดี ความจริงใจ และความรักอันลึกซึ้งของท่าน ที่ไม่ยอมกลับไปฝังร่างกายของท่านที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้มาอุทิศร่างกายและจิตใจไว้ให้กับคนไทยและประเทศไทย อาคารหลังนี้เมื่อท่านสิ้นอายุขัยลงแล้ว ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่ามาจนถึง พ.ศ. 2527
จากรอยจารึกในคุณงามความดี ความเสียสละ มีคุณธรรม และความรู้ ความสามารถที่ท่านได้เมตตามาตลอดชีวิตของท่านในประเทศไทย ดุจบิดาแห่งศิลปสมัยใหม่ของประเทศไทย (The Father of Modern Arts in Thailand) จึงกำเนิดโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้น ณ อาคารประวัติศาสตร์ที่ท่านใช้ชีวิตการทำงานศิลป และสอนศิษย์พร้อมกันไป ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดต่างๆ หาทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ให้กับท่าน
วันที่ 15 กันยายน 2527 เป็นวาระวันคล้ายวันเกิดของท่านครบรอบ 92 ปี ได้มีพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (ฯพณฯ ชวน หลีกภัย) เป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้ เพื่อการเผยแพร่งานศิลปร่วมสมัย ศิลปสมัยใหม่ของบรรดาศิษย์อาวุโสที่เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมให้ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าชมศึกษาหาความรู้เรื่อยมา
วันที่ 27 มีนาคม 2530 กระทรวงศึกษาธิการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมศิลปากร