๔.๒๒.๒๕๕๑

ลำดับราชวงศ์ไทย



ลำดับที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ลำดับที่ 2 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ลำดับที่ 3 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ลำดับที่ 4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

ลำดับที่ 5 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ลำดับที่ 6 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
ลำดับที่ 7 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

พระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา" เป็นพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระบรมราชชนก) กับหม่อมสังวาลย์ มหิดล (สมเด็จพระบรมราชชนนี) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา" ในสมัยรัชกาลที่ 8 เป็นที่ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า" และได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เพื่อทำการสมรสกับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบันจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคืนฐานันดรศักดิ์
ลำดับที่ 8 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ" เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อมาได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทำการสมรส
ลำดับที่ 9 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สกุลเดิม "อัครพงศ์ปรีชา" อภิเสกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อมาเมื่อมีพระประสูติกาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548
ลำดับที่ 10 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

พระนามเดิมว่า "หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร" เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี ยุคล อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับสถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2520 ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ"
ลำดับที่ 11 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ มีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาลปัจจุบัน
ลำดับที่ 12 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

ทรงมีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล" เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับนางสุจาริณี วิวัชรวงศ์
ลำดับที่ 13 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา
ลำดับที่ 14 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศรินทร์
ลำดับที่ 15 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศรินทร์ ปัจจุบันประทับอยู่กับพระบิดาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลำดับที่ 16 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร

ทรงเป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล มีศักดิ์เป็นพระหลานเธอในรัชกาลที่ 5
ลำดับที่ 17 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน

ราชสกุล "มหิดล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
หม่อมเจ้าจุฑาวัชร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
หม่อมวัชเรศร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
หม่อมเจ้าจักรีวัชร (มหิดล) วิวัชรวงศ์
หม่อมเจ้าวัชรวีร์ (มหิดล) วิวัชรวงศ์
ลำดับที่ 18 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 4** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)
ราชสกุล "จิตรพงศ์" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ ราชสกุล "ชยางกูร" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
หม่อมเจ้าวราชัย ชยางกูร (2470 - ปัจจุบัน)
*** หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร (2467 - ปัจจุบัน) ***
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (2473 - ปัจจุบัน) ***
หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (2475 - ปัจจุบัน) ***ราชสกุล "ดิศกุล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล ดิศกุล
ลำดับที่ 19 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 5** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)
ราชสกุล "กิติยากร" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมพระจันทรบุรีนฤนาท
หม่อมเจ้าวินิตา กิติยากร
หม่อมเจ้าสุวนิต กิติยากร
หม่อมเจ้ากิตติปียา กิติยากรราชสกุล "ระพีพัฒน์" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
หม่อมเจ้าวิพันธุ์ไพโรจน์ ระพีพัฒน์
หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า ระพีพัฒน์
หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด ระพีพัฒน์ ราชสกุล "ฉัตรชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
หม่อมเจ้าภัทรลดา (ฉัตรชัย) ดิศกุล
หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย
หม่อมเจ้าชายทิพยฉัตร ฉัตรชัย ราชสกุล "วุฒิชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
หม่อมเจ้าหญิงวุฒิสวาท วุฒิชัย
หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย
หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิฑูร วุฒิชัย
ลำดับที่ 20 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ราชสกุล "รัชนี" พระโอรสธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
หม่อมเจ้าหญิงศะศิธรพัฒนวดี รัชนี
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ลำดับที่ 21 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 5** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)
ราชสกุล "บริพัตร" พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต
หม่อมเจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี บริพัตร ราชสกุล "ยุคล" พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
หม่อมเจ้าชายภูริพันธ์ ยุคล
หม่อมเจ้าชายนวพรรษ์ ยุคล
หม่อมเจ้าหญิงภาณุมา ยุคล
พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
หม่อมเจ้าชายมงคลเฉลิม ยุคล
หม่อมเจ้าชายเฉลิมสุข ยุคล
หม่อมเจ้าชายฑิฆัมพร ยุคล
พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
หม่อมเจ้าชายจุลเจิม ยุคล
หม่อมเจ้าชายชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี ยุคล
หม่อมเจ้าหญิงมาลิณีมงคล ยุคล
คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น****

พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ กับนายปีเตอร์ เจนเซ่น มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณสิริกิติยา เจนเซ่น****

พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ กับนายปีเตอร์ เจนเซ่น มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร

นามเดิมว่า "หม่อมเจ้าหญิงพันธุ์สวลี กิติยากร" พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2499 เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีศักดิ์เป็นพระราชภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายสินธู ศรสงคราม

สามีท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสมรส เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2516
ร้อยโทจิทัส ศรสงคราม

บุตรชายของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม กับนายสินธู ศรสงคราม มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หมายเหตุ * ลำดับที่ 1 - 16 เรียงพระนามตามสำนักราชเลขาธิการ ** กำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวมพระนาม และระบุเฉพาะเจ้านายที่ยังดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ *** กำลังตรวจสอบว่ายังทรงมีพระชนม์อยู่หรือไม่ **** 2 ท่านนี้แม้จะเป็นสามัญชน แต่มีศักดิ์เป็นหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน บางครั้งจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อยู่หน้าหม่อมเจ้าในราชสกุลอื่นๆ

๔.๑๔.๒๕๕๑

ล้างพิษด้วยด้วยถั่วดำ




หากใครต้องการโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ "ถั่ว" ถือว่าเป็นพืชที่ให้โปรตีนได้มากที่สุด และถั่วเหลืองก็ถือเป็นถั่วที่ให้โปรตีนได้ใกล้เคียงเนื้อสัตว์มากที่สุด แต่วันนี้ "108 เคล็ดกิน" จะมาเเนะนำถั่วอีกชนิดหนึ่งที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีและมีประโยชน์มากอย่าง "ถั่วดำ" มาฝากกัน
แม้คำว่าถั่วดำมักถูกใช้ไปในความหมายไม่ค่อยจะดีอยู่บ่อยๆ แต่ประโยชน์ของถั่วดำนั้นกลับดีมากและน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะมีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตสูง แต่มีไขมันต่ำ แถมยังอุดมไปด้วยกากใยหรือไฟเบอร์แล้ว ก็ยังมีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่บริโภคถั่วดำในปริมาณมากกว่า จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่บริโภคถั่วดำน้อยกว่า หรือไม่บริโภคเลย
อีกทั้งถั่วดำนั้นยังเป็นตัวล้างพิษในร่างกายได้ดีไม่แพ้ผลไม้อีกด้วย โดยในถั่วดำนั้น จะมีสารฟลาโวนอยด์ หรือสารล้างพิษกรัมต่อกรัมสูงที่สุด รองลงมาเป็นถั่วสีแดง น้ำตาล เหลืองและขาวตามลำดับ เพราะในถั่วดำนั้นมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยานินส์ ซึ่งนับเป็นตัวล้างพิษชั้นดี โดยเมื่อเทียบกับการกินถั่วดำในปริมาณเท่ากันกับการกินส้มแล้ว ถั่วดำจะมีปริมาณสารล้างพิษมากกว่าในส้มถึง 10 เท่า เลยทีเดียว คือเทียบได้กับองุ่นและแอปเปิล แต่การทำให้ถั่วดำสุกนั้นก็จะสูญเสียตัวล้างพิษไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถล้างพิษให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ