โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท
เกิดที่ ซาลสเบร์ก ออสเตรีย 27 มกราคม ค.ศ.1756
ตายที่ เวียนนา ออสเตรีย 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791
โมสาร์ท เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่ง ที่มีอัจฉริยภาพทางดนตรีมาแต่กำเนิด เมื่อเขายังเล็ก ๆ อยู่นั้น มักจะไปยืนเกาะฮาร์พซิคอร์ด ดูพ่อกำลังสอน Nannerl พี่สาวของเขาให้เล่นคลาเวียร์อยู่ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ดูไปดูมาก็อยากจะเล่นได้อย่างพี่สาว ก็เลยเอ่ยปากขอเล่นบ้าง แต่พ่อบอกว่ายังเด็กยังเล็กอยู่จะเล่นเห็นจะยังไม่เหมาะ ขอให้โตกว่านี้อีกหน่อยซิพ่อจะสอนให้เมื่อโมสาร์ทอายุได้ 4 ขวบ พ่อก็เริ่มฝึกหัดให้เขาเรียนดนตรีอย่างจริงจัง โมสาร์ทสามารถเรียนรู้อะไร ๆ จากพ่อได้อย่างรวดเร็ว หูของเขาสามารถฟังเสียงดนตรีได้อย่างแม่นยำ และบอกเสียงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง พ่อเริ่มเห็นความสามารถพิเศษที่สวรรค์ประทานพรมาให้ลูกชายของเขาแล้ว จึงได้ตั้งใจทุ่มเทเวลามาฝึกหัด และวางรากฐานทางดนตรีตลอดจนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องให้แก่ลูกชายของเขาโวล์ฟกัง อมาเตอุส โมสาร์ท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1759 (พ.ศ.2295) ที่เมืองซาลสเบอร์ก ออสเตรีย เป็นลูกชายของ เลโอโปลด์ โมสาร์ท นักดนตรีผู้มีชื่อเสียงของออสเตรีย เป็นนักแต่งเพลงและครูสอนดนตรี มีความสามารถทางไวโอลินเป็นเยี่ยม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพ ที่ซาลสเบอร์ก แม่ชื่อ เฟรา อันนา โมสาร์ท เป็นผู้หญิงธรรมดาที่พอใจในงานแม่บ้านแม่เรือน และมีความรักลูก ๆ เหมือนแม่ทั้งหลาย โมสาร์ทมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน แต่ตายไปเสีย 5 คน คงเหลือแต่เพียงมาเรีย แอนนา หรือ Nannerl พี่สาวซึ่งมีอายุแก่กว่าเขา 4 ปี และตัวเขาเอง เพียง 2 คนเท่านั้น เด็กน้อยโมสาร์ทเป็นคนที่มีรูปร่างสง่า มีใบหน้าสวย มีริมฝีปากงามละไม จมูกโด่ง มีแววตาอ่อนโยนคล้ายผู้หญิง มีกิริยาละมุนละม่อมสงบเสงี่ยมและเป็นคนช่างคิดช่างฝันเมื่ออายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น โมสาร์ทก็มีความสามารถในการแต่งเพลงได้แล้ว เพลงแรกที่เขาแต่งนั้นคือการแต่งเติมเพลง minuet ของพ่อที่ได้แต่งค้างไว้ยังไม่เสร็จ ความไพเราะของเพลงตอนที่โมสาร์ทแต่งเติมนั้นไพเราะยิ่งนัก ทำความประหลาดใจแก่ผู้ได้ฟังเป็นอย่างมาก เมื่ออายุ 6 ปี ในวันเกิดนั้น โมสาร์ทได้รับไวโอลินเล็กๆ อันหนึ่ง เป็นของขวัญ จึงได้เริ่มเอาใจใส่กับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ และขอร้องให้พ่อสอนให้ แต่พ่อไม่เอาใจใส่บอกว่าเพียงแต่การเล่นคลาเวียร์ และการแต่งเพลงก็นับว่ามากพออยู่แล้ว แต่โมสาร์ทก็ไม่ยอมแพ้ จึงได้ยายามฝึกฝนด้วยตนเองต่อมาไม่นานนัก โมสาร์ทก็แสดงความสามารถทางไวโอลินให้ปรากฏในวันหนึ่ง ขณะที่มีการเล่นดนตรีกันที่บ้าน มีนักดนตรีมาร่วมเล่นกับพ่อของเขา โมสาร์ทขอร่วมวงด้วยพ่อไม่อนุญาต แต่ทนความรบเร้าของลูกชายไม่ไหวก็เลยอนุญาตให้เล่นด้วย แต่ให้เล่นเพียงเบา ๆ เมื่อเพลงทริโอเริ่มเล่นไปได้สักครู่ ทุกคนก็ต้องประหลาดใจเพราะโมสาร์ทสามารถเล่นได้อย่างมหัศจรรย์ ทุกคนพากันหยุดเล่น ได้แต่มองดูตากันไปมา และปล่อยให้โมสาร์ทเล่นไปคนเดียวจนจบเพลง จากความสามารถของโมสาร์ทครั้งนี้ ทำความทึ่งให้แก่พ่อของเขาไม่น้อย การศึกษาทางไวโอลินของโมสาร์ทจึงดำเนินไปอย่างจริงจังและพ่อก็ทำการซ้อมเล่นไวโอลินให้เขาพร้อมกับ Nannerl พี่สาวเกือบทุกวัน พ่อของโมสาร์ทได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะปั้นให้ลูกชายเป็นนักไวโอลินเอกของโลกให้ได้โมสาร์ท นอกจากจะมีความสามารถในการเล่นไวโอลินแล้วยังสามารถในการเล่นดนตรีชนิดอื่นอีก เช่น ออร์แกน คลาเวียร์ เพลงที่เขาแต่งก็ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของวิชาดนตรีทุกประการ เมื่อพ่อได้ประจักษ์ในความสามารถของลูกชายแล้ว จึงพาโมสาร์ทพร้อมด้วยมาเรีย แอนนาออกเดินทางไปแสดงดนตรีในที่ต่าง ๆ หลายแห่งทั่วยุโรป ปรากฎว่าได้รับความสำเร็จอย่างงดงามทุกแห่ง ผู้ฟังชื่นชมในอัจฉริยภาพของโมสาร์ทน้อยอยู่ทั่วกัน ชื่อเสียงของโมสาร์ทจึงรุ่งโรจน์มาตั้งแต่เยาย์วัย เขาได้รับความยกย่องนับถือจากวงสังคมทุกแต่ง ตั้งแต่ประชาชนเดินถนนจนถึงราชสำนัก โมสาร์ทได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากราชสำนักทุกแห่ง เช่น ออสเตรีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ การเดินทางไปแสดงดนตรีครั้งนี้พ่อของโมสาร์ทต้องการให้ลูกสาวและลูกชายได้มีโอกาสแสดงฝีมือทางดนตรีและเป็นการท่องเที่ยวไปด้วยสถานที่แห่งแรกของการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ เมืองมิวนิคที่นั้นโมสาร์ทและพี่สาวได้เล่นดนตรีถวายเจ้าชายแห่งบาวาเรีย และพระเจ้าโยเซฟที่ 3 จากนั้นก็เดินทางไปเล่นดนตรีถวาย พระนางมาเรีย เทเรซา ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย ซึ่งเป็นราชินีที่ยิ่งใหญ่พระหนึ่ง โมสาร์ทได้รับการจุมพิตจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ที่ได้ประทานให้แก่เขาด้วยความเอ็นดูแต่เหตุการณ์สำคัญที่โมสาร์จะลืมไม่ได้ก็คือ ระยะเวลาที่อยู่แสดงดนตรีในกรุงเวียนนานั้น โมสาร์ทได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับบรรดาพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระนางมาเรีย เทเรซา ในขณะนั้นมาสาร์ทอายุ 6 ขวบ พระราชธิดาพระองค์หนึ่งของพระนางมาเรีย เทเรซาได้ให้ความสนิทสนมต่อเขาอย่างมาก เคยกอดรัดโมสาร์ท เคยปลอบประโลมให้เขาหายเศร้า เป็นเพื่อนที่ดีของเขาในยามทุกข์ยากและยามสุข วึ่งจะเห็นได้ว่า ครั้งหนึ่งโมสาร์ทเข้าเฝ้าพระนางมาเรีย เทเรซา ซึ่งมีพระราชโอรสและพระราชธิดาอยู่พร้อม โมสาร์ทได้สะดุดดาบที่แขวน ขณะที่แต่งเครื่องแบบเต็มยศเข้าเฝ้าเพราะความไม่คุ้นเคย พระราชธิดาพระองค์นั้น ยังเข้าไปจูบปลอบเขาซึ่งกำลังร้องได้อยู่ให้คายได้ ซึ่งโมสาร์ทเองก็รู้สึกซาบซึ้งในมิตรภาพของพระราชธิดามาก จึงกล่าวตามประสาเด็ก ๆ ออกมาว่าเขาขอสัญญาว่าเมื่อเขาโตเป็นหนุ่มเขาจะขอแต่งงานกับพระนาง แต่โมสาร์ทในขณะนั้นคงไม่รู้หรอกว่า ขณะนั้นเขากำลังเผชิญหน้าอยู่กับพระราชินีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งในเวลาต่อมา เพราะพระราชธิดาพระองค์นั้น ต่อมาก็คือพระนางมารี อังตัวเนตต์ มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสนั่นเองการได้รับการจุมพิตจากพระนางมาเรีย เทเรซา และการโอบกอดจากพระราชธิดา ควรนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ดีและรุ่งโรจน์สำหรับโมสาร์ทอย่างยิ่ง แต่อนิจจา สวรรค์หาได้โอบอุ้มชีวิตของเขาตลอดไปไม่ สวรรค์ช่างใจร้ายเหลือเกิน พรที่สวรรค์ประทานแก่โมสาร์ทในทางดนตรีเกือบจะไม่มีความหมายต่อเขาเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้เพราะสวรรค์มิได้ประสาทพรในด้านความรักให้แก่เขาเลย ดังนั้นแม้ว่าโมสาร์ทจะเป็นคนรูปหล่อน่ารัก เฉลียวฉลาด และมีอัจฉริยะในทางดนตรีก็ตาม แต่ในด้านความรักแล้วเขาค่อนข้างจะอาภัพอยู่สักหน่อย ซึ่งเราจะได้ดูกันต่อไป สำหรับงานทางดนตรี ในระหว่างที่โมสาร์ทยังเป็นเด็กนั้นเป็นงานที่มีผลทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปทั่วยุโรป จักรพรรดิ์ฟรังซิส ถึงกับทรงเรียกเขาว่า “ผู้วิเศษน้อย” เมื่ออายุ 7 ขวบ เขาแต่งเพลงไวโอลินโซนาตาเสร็จเป็นเพลงแรก อีกปีหนึ่งต่อมาเมื่ออายุ 8 ขวบ ก็แต่งซิมโฟนีได้สำเร็จในการเดินทางไปแสดงดนตรีที่อิตาลีนั้น โมสาร์ท ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก สมาคมชื่อ Philharmonic Society ในเมือง Bologna แต่ยังคงไม่ได้รับเกียรติเท่าที่ควร เนื่องจากโมสาร์ทยังเป็นเด็กอยู่ สันตปาปาก็ชื่นชมในความสามารถของเขาถึงกับแต่งตั้งให้เขาเป็น Cavalier และเป็น King of the Golden Cross ด้วย ซึ่งเป็นยศอัศวิน การให้เกียรติแก่นักดนตรีอย่างนี้ เคยให้แก่คริสโตฟ วิลลิบาลด์ กลุ๊ค มาแล้วเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้อิตาลี ในสายตาของโมสาร์ท เป็นนครที่เขารักมากที่สุดในชีวิต กล่าวได้ว่าโมสาร์ทหลงใหลใฝ่ฝันต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของอิตาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปรากรของอิตาลี แม้กระทั่งชื่อโมสาร์ทก็พยายามเปลี่ยนให้เหมือนชาวอิตาเลียน โดยได้เปลี่ยนชื่อกลางซึ่งเดิมชื่อ Gottlieb แปลว่า ผู้เป็นที่รักของพระเจ้า มาเป็น Amadeus ซึ่งแปลว่าผู้เป็นที่รักของพระเจ้าเช่นเดียวกัน ตอนนั้นโมสามาร์ทหายใจเข้าออกเป็นอิตาลีไปหมด จนมีผู้กล่าวว่าโมสามาร์ทถูกมนต์ขลังของอิตาลีครอบงำจิตใจเสียแล้วอนาคตอันบรรเจิดจ้า เปล่งแสงงามระยับรอคอยโมสาร์ทอยู่ตลอดมานั้น ดูเหมือนจะดับวูบลงโดยกระทันหัน เพราะหลังจากที่โมสาร์ทและพ่อกลับมาซาลสเบอร์กแล้ว ก็ได้เข้าไปเล่นไวโอลินอยู่ในวง Orchestra ของ อาร์ชบิชอบ ซึ่งมีน้ำใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี แต่แล้วอาร์ชบิชอบ ผู้อารีก็สิ้นชีวิตลงขณะที่ อาร์ชบิชอบ ไฮโรนีมุส ผู้อารียังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สนับสนุนให้โมสาร์ทกับพ่อได้เดินทางไปเล่นไวโอลินในที่ต่าง ๆ เป็นประจำ ซึ่งทำให้สองพ่อลูกได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงและมีรายได้ไม่ขาดระยะ เมื่อ ไฮโรนีมุสHeironymus ตายไป Colloredo ได้ดำรงตำแหน่งแทน โมสาร์ทและพ่อถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปเล่นไวโอลิน โดยคำสั่งของท่านอาร์ชบิชอบคนใหม่ ดังนั้น โมสาร์ทจึงจำต้องลาออกจากวงดนตรีของอาร์ชบิชอบเมื่อขาดผู้ส่งเสริมให้เดินทางไปเล่นดนตรีในสถานที่ต่าง ๆ เช่นนั้น โมสาร์ทก็รู้สึกอึดอัดใจ เพราะนั่นหมายถึงว่าครอบครัวของเขาจะต้องทรุดหนักในด้านการเงิน ดังนั้น เขาจึงตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศเผื่อว่าจะประสบโชคเข้าบ้าง เขาเดินทางออกจากซารค์ลสเบอร์กไปพร้อมกับแม่ด้วยความอาลัยรักของผู้เป็นพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กมาจนกระทั่งเป็นหนุ่ม โมสาร์ทไม่เคยแยกจากพ่อเลย เห็นพ่อที่ไหนจะเห็นโมสาร์ทที่นั่น หรือเห็นมาสาร์ทที่ไหนก็จะต้องเห็นพ่อของเขาที่นั่น ทั้งสองเป็นประหนึ่งบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นเมื่อต้องมาแยกจากกันเป็นครั้งแรกเช่นนี้ ความรักความอาลัยของผู้เป็นพ่อย่อมจะต้องมีเป็นธรรมดา พ่อของโมสาร์ทยืนน้ำตาคลอหน่วยโบกมือให้แก่โมสาร์ท ผู้ซึ่งกำลังจะเดินทางไปหาความมั่นคงมาให้แก่ครอบครัว พ่อของโมสาร์ทนั้น ถึงแม้จะเศร้าใจเพียงใดก็ต้องตัดใจปล่อยให้ลูกไป โดยกำชัยผู้เป็นแม่ให้คอยควบคุมดูแลลูกให้ดี นี่จะเห็นได้ว่า โมสาร์ท่ถึงแม้ในขณะนั้นจะเป็นหนุ่มแล้ว แต่ก็ยังเป็นเด็กในสายตาของพ่อแม่เสมอการเดินทางของโมสาร์ท พร้อมกับแม่ครั้งนี้ ไม่ได้ผลสมปรารถนา เพราะเขาไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร ดังนั้นเงินทองที่นำติดตัวไปด้วยก็ร่อยหรอลงไปทุกวัน แม่ของเขารู้สึกเศร้าใจในโชคชะตาของลูกและครอบครัวเป็นอย่างยิ่งขณะที่อยู่ใน มันน์ไฮม์ โมสาร์ทพบวง Orchestra ดีที่สุดในยุโรป ณ ที่นี้เองเขาได้แต่งเพลงให้แก่เจ้าเมืองของมันน์ไฮม์ หลายเพลงด้วยกัน โดยหวังว่าคงได้รับตำแหน่งอยู่ในราชสำนักบ้าง แต่ว่าสิ่งที่โมสาร์ทได้รับนั้น มันไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่อะไรที่ไหน มันเป็ฯเพียงคำเยินยอหลอกใช้เท่านั้นเอง ณ ที่มันน์ไฮม์นี่เองโมสาร์ทเริ่มสนใจเปียโน ซึ่งเขาชอบมากกว่าฮาร์พซิคอร์ด และคลาวิคอร์ด โมสาร์ทเล่นได้ดีมากทีเดียว ทำความพิศวงแก่ผู้ที่ได้ฟังทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งนิยายรักของดมสาร์ทได้เริ่มขึ้นที่ มันน์ไฮน์นี้เช่นกัน โดยที่โมสาร์ทได้ตกหลุมรักของหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อ อลอยเซีย เวเบอร์ แม่ของโมสาร์ทรีบรายงานพฤติการณ์ณ์ของลูกชายไปให้ผู้เป็นพ่อทราบทันที พ่อของโมสาร์ทรู้สึกตกใจมาก เขียดจดหมายสั่งให้โมสาร์ทรีบไปหางานทำในปารีสทันทีเมื่อกลับมายังปารีสอีกครั้ง ปรากฎว่าขุนนางและชาวฝรั่งเศสซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้การต้อนรับเขาอย่างเกรียวกราว เคยเข้าไปรุมล้อมจูบโมสาร์ททั้งหน้าหลัง เมื่อครั้งเขาไปเล่นไวโอลินในขณะที่ยังเป็นเด็ก แต่การกลับมาคราวนี้ โมสาร์ทต้องประสบความผิดหวังอย่างมาก ซึ่งเพิ่มความช้ำใจให้แก่เขาอีก หลังจากต้องพรากจาก อลอยเซียมาแล้ว ทั้งนี้เพราะโมสาร์ทไม่ได้รับนิยมเสียแล้ว ชีวิตของเขาต้อนนี้ดูเหมือนจะถูก “ผีซ้ำด้ำพลาย” เป็นการใหญ่ เพราะในขณะที่อยู่ในนครปารีสนั้นเอง แม่ของเขาก็สิ้นชีวิตลงโดยกระทันหัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1778 ก่อให้เกิดความเศร้าสลดแก่โมสาร์ทเป็นอย่างมากดังนั้นโมสาร์ทจึงกลับไปซาร์ลสเบอร์ก และได้เข้าร่วมอยู่ในวงดนตรีของอาร์ชบิชอบ โคลโลเรโดอีก โคลโลเรโดได้นำวงดนตรีเดินทางไปแสดงที่กรุงเวียนนา ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ.1781 การเดินทางไปครั้งนี้เป็นที่พอใจของโมสาร์ทมาก เพราะเขาจะได้ไปยังเมืองที่เขารักมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อ โคลโลเรโด สั่งให้วงดนตรีย้ายไปเล่นที่อื่น โมสาร์ทรู้สึกไม่พอใจจึงลาออกโมสาร์ท ได้แต่งงานกับ คอนสตันซ์ เวเบอร์ น้องสาวของอลอยเซีย เวเบอร์ ซึ่งเขาเคยรักมาก่อนนั่นเอง โมสาร์ทได้นำเอาชื่อของเมียไปตั้งเป็นชื่อของนางเอกในอุปรากรที่เขาเขียนขึ้นชื่อ The Escape from Seraglio โมสาร์ทได้นำอุปรากรเรื่องนี้ไปแสดงที่กรุงเวียนนา แต่ก็ไม่ได้ผล คนดูเดินออกก่อนอุปรากรเลิกทุกรอบ แต่อย่างไรก็ตามจากอุปรากรเรื่องนี้ จักรพรรดิ์โจเซป ได้รับโมสาร์ทไว้ในวงดนตรีของพระองค์ เพราะพระองค์ชอบอุปรากรของโมสาร์ทมาก ถึงกับออกปากชมเชยอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้วาจักรพรรดิ์โจเซฟจะทรงอุปถัมภ์โมสาร์ทด้วยความพอพระทัยในฝีมือเขียนอุปรากรของเขาก็ตาม แต่พระองค์ให้เงินค่าตอบแทนต่อนักแต่งเพลงผู้นี้น้อยเหลือเกิน จนกระทั่งโมสาร์ทกล่าวกับตนเองอยู่เสมอว่า เขาพยายามสร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อคนอื่นจนสุดความสามารถของตน แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากันเลยงานในด้านแต่งเพลงของโมสาร์ทเด่นขึ้น เมื่อเขาได้มีโอกาสรู้จักกับไฮเดิน นักคนตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งเวียนนาและได้เป็นผู้สอนการเขียนเพลง ควอเตท ให้แก่โมสาร์ท จากนั้นโมสาร์ทได้แต่งเพลง String quartets ขึ้นหลายเพลง ซึ่งไพเราะมาก เขาได้อุทิศ quartet ตลอดจนให้กำลังใจแก่เขา ความจริงไฮเดินก็ได้บางสิ่งบางอย่างไปจากโมสาร์ทเหมือนกัน ไฮเดินมีความชื่นชมในการเล่นเปียโนของโมสาร์ทมาก ไฮเดินเคยกล่าวกับพ่อของโมสาร์ทเมื่อครั้งที่เลโอโปลด์ไปเยี่ยมลูกชายที่เวียนนา “ผมขอประกาศต่อท่านด้วยเกียรติยศว่า ลูกชายของท่านเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา” (I declare to you upon my honor that I consider you son the greatest composer that I have heard)ในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวของเขา หลังจากการแต่งงานได้ 9 ปี โมสาร์ทได้รับความสุขบ้างพอสมควร เขา มีลูกกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ ทั้งหมดด้วยกัน 6 คน หลังจากนั้นการดำรงชีพชักฝืดเคืองเพราะมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย เมียเป็นคนใช้เงินเก่ง ทั้งการบ้านการเรือนไม่ค่อยเอาใจใส่เท่าที่ควร ครอบครัวของโมสาร์ทจึงประสบมรสุมทางการเงินอย่างหนัก ต้องกู้หนี้ยืมสินมาประทังชีวิตในครอบครัว และตัวโมสาร์ทเองก็ต้องทำงานอย่างหนักงานของโมสาร์ทีมากกว่า 200 ชิ้น นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลงชั้นยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง เริ่มตั้งแต่เพลง String quartets ที่เด่นที่สุด 10 เพลง, Piano quartets 2 เพลง, Piano quintets อีก 2 เพลง, Piano concertos 30 กว่าเพลง, Violin concertos 7 เพลง, Flute concertos 3 เพลง, อุปรากร 22 เรื่อง, ซิมโฟนีเขียนไว้ 41 เพลง นอกจากนั้นยังมีอื่น ๆ อีกมากงานด้านอุปรากรนั้น ในปี ค.ศ.1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับ ลอเรนโซ ดา พอนเต้ ซึ่งเป้นผู้เชียวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนา เขียน ‘Marriage of Figaro’ ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังหวัง แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย (เชคโกสโลวาเกีย) ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ.1787 เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี สำเร็จ ซิมโฟนีรุ่นสุดท้ายมี 3 เพลง ซึ่งเป็นซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของโมสาร์ทสำเร็จลงภายในระหว่างฤดูร้อนของปี ค.ศ.1788 ได้แก่เพลงซิมโดนีนัมเบอร์ 39 E Flat Major, นับเบอร์ 40 G Minor, นับเบอร์ 41 C Major (‘Jupiter’) ซึ่งมีความเด่นเป็นเอกกว่าซิมโฟนีทั้งหลายของโมสาร์ท สำหรับนับเบอร์ 41 ที่ชื่อ Jupier นี้ไม่ทราบว่าใครเป็นคนตั้ง เพราะโมสาร์ทไม่ได้เป็นคนตั้ง อุปรากรที่ร่วมกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ เมื่อปี ค.ศ.1790 อันหลังสุดได้แก่ Cosi Fan Tutteโมสาร์ทได้เขียนเพลงมากมาย ยิ่งเขียนมากขึ้นเท่าไหร่แนวการเขียนก็ยิ่งแปลกขึ้นเท่านั้น และไม่ค่อยจะซ้ำแบบเดิม ซึ่งเป็นการยากที่นักแต่งเพลงอื่น ๆ จะทำได้ อุปรากรเรื่องสุดท้ายในชีวิตของโมสาร์ท คือ The Magic Flute ซึ่งเขียนขึ้นขณะที่กำลังป่วยและอยู่ในภาวะเศร้าโศก เพราะมีเรื่องคับแค้นในเรื่องครอบครัว แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏว่าท่วงทีทำนองและลีลาของเพลงเต็มไปด้วยชีวิตและร่าเริงแจ่มใส เพลงนี้เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1791โมสาร์ทได้พยายามแต่งเพลง Requiem (เพลงเกี่ยวกับงานศพ) ให้แก่เคาน์ท์ลัวเซกก์ เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ภรรยาที่ตายไปแล้ว โมสาร์ทแต่งไปได้ไม่มากนักก็เสียชีวิตเสียก่อน ตกลงก็เป็นอันว่าเพลง Requiem นี้แต่งขึ้นเพื่องานศพของตนเอง เพราะต่อมาวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 โมสาร์ทก็จากโลกไปด้วยโรคไข้ไทฟลอย์ที่เวียนนา เขาตายขณะที่กำลังยากจนแสนเข็ญ และมีหนี้สินรุงรัง ภรรยาไม่มีเงินจะทำศพให้สามี เอเฟน ฟาน สวีเดน ผู้ใจบุญได้ช่วยจัดการในพิธีฝังศพให้ขณะที่โมสาร์ทตายนั้น เขาอายุเพียง 35 ปีเท่านั้น เขาตายอย่างน่าอนาถ เพราะเขาต้องเผชิญกับความหิว ความหนาวและเข็ญใจ ไร้ญาติขาดมิตร ขณะที่นำศพไปฝังในตอนบ่ายวันที่เขาตายนั้น มีพายุฝนอย่างรุนแรง หิมะและลูกเห็บตกลงมาอย่างหนัก ทำให้คนเดินติดตามไปฝังศพต้องยอมแพ้ไม่ยอมตามไป ภรรยาของเขาก็ไม่ได้ตามไปด้วยเพราะกำลังป่วยอยู่ ฉะนั้น จึงไม่มีญาติมิตรคนใดไปดูการฝังศพของเขา คงปล่อยให้สัปเหร่อ 2-3 คน จัดการไปตามลำพัง ณ ป่าช้าสำหรับคนอนาถาที่ เซนต์ มารุกซ ในกรุงเวียนนา โดยไม่ได้ทำเครื่องหมายอันใดไว้เลย เพราะทำกันอย่างรีบ ๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง พอมีการระลึกถึงคุณค่าทางดนตรีของเขาขึ้นมา ต้องการที่จะคาราวะศพ และจะจัดสร้างอนุสาวรีย์ให้แก่เขา ก็ไม่สามารถจะค้นหาหลุมฝังศพของเขาพบ นี่แหละคือชีวิตของ โวล์ฟ กัง อมาเดอุส โมสาร์ท นักดนตรีชื่อก้องโลกผู้อาภัพที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น