ศิลปินเอกชาวอิตาลี ที่โอนสัญาชาติมาเป็นไทยเริ่มรับราชการในสมัย ร.6 เป็นผู้
วางรากฐานด้านหลักสูตรศิลปะที่สำเร็จจากโรงเรียนเพาะช่างให้มีมาตรฐานความรู้เดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรปตั้งเป็นโรงเรียนศิลปากรต่อมาในสมัยจอมพลป.ให้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ศิลป์เป็นผู้มีฝีมือทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมอย่างยอดเยี่ยมท่านได้อุทิศและทุมเทชีวิตทั้งหมดของท่านให้กับประเทศไทยเป็นที่รักของลูกศิลป์มากมายในสาขาจิตรกรรมและประติมากรรมมีรูปปั้นบุคคลสำคัญมากมายของไทยจากฝีมือของท่าน
วางรากฐานด้านหลักสูตรศิลปะที่สำเร็จจากโรงเรียนเพาะช่างให้มีมาตรฐานความรู้เดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรปตั้งเป็นโรงเรียนศิลปากรต่อมาในสมัยจอมพลป.ให้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ศิลป์เป็นผู้มีฝีมือทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมอย่างยอดเยี่ยมท่านได้อุทิศและทุมเทชีวิตทั้งหมดของท่านให้กับประเทศไทยเป็นที่รักของลูกศิลป์มากมายในสาขาจิตรกรรมและประติมากรรมมีรูปปั้นบุคคลสำคัญมากมายของไทยจากฝีมือของท่าน
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci เมื่ออายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence)
ปี พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของ ประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ. 2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน
ปี พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของ ประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ. 2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน
อาคารโบราณทรงสูงชั้นเดียว มีหน้าต่างใหญ่ 3 บาน เป็นกระจกใส สามารถเปิดรับแสงและลมจากธรรมชาติได้ตลอดวันโดยไม่ต้องใช้แสงสว่างจากไฟฟ้า ที่ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2467 โดยการออกแบบของศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ผู้สำเร็จการศึกษาจากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (The Royal Academy of Art of Florence) ที่เดินทางจากนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ได้รับการวินิจฉัยจากสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ คัดเลือกจากศิลปินอิตาเลียนจำนวนมากที่ต้องการเพียงหนึ่งเดียว ก็นับว่าเป็นเรื่องดีของประเทศและของประชาชนชาวสยาม ที่ได้ท่านมาไว้ในประเทศสยาม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา โดยใช้อาคารนี้เป็นสถานที่ทำงานเรื่อยมาจนตลอดอายุขัยของท่าน
วันที่ 12 ตุลาคม 2486 เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรก "คณบดีปฏิมากรรม" ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้วางรากฐานการเรียนการสอนในบททฤษฏีและปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านศิลปร่วมสมัยในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมันกับญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และหลวงวิจิตรวาทการได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญๆ ของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชนุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล การปั้นต้นแบบของงานอนุสาวรีย์ ท่านจะใช้อาคารที่ทำงานของท่านในตึกสูงทรงโบราณที่เป็นประวัติศาสตร์ในอดีต ในปัจจุบันนี้ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 กรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สูญเสียท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งสถาบันและวงการศิลปร่วมสมัยของไทยไปอย่างสิ้นเชิง คงทิ้งไว้แต่ความทรงจำต่อความดี ความจริงใจ และความรักอันลึกซึ้งของท่าน ที่ไม่ยอมกลับไปฝังร่างกายของท่านที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้มาอุทิศร่างกายและจิตใจไว้ให้กับคนไทยและประเทศไทย อาคารหลังนี้เมื่อท่านสิ้นอายุขัยลงแล้ว ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่ามาจนถึง พ.ศ. 2527
จากรอยจารึกในคุณงามความดี ความเสียสละ มีคุณธรรม และความรู้ ความสามารถที่ท่านได้เมตตามาตลอดชีวิตของท่านในประเทศไทย ดุจบิดาแห่งศิลปสมัยใหม่ของประเทศไทย (The Father of Modern Arts in Thailand) จึงกำเนิดโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้น ณ อาคารประวัติศาสตร์ที่ท่านใช้ชีวิตการทำงานศิลป และสอนศิษย์พร้อมกันไป ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดต่างๆ หาทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ให้กับท่าน
วันที่ 15 กันยายน 2527 เป็นวาระวันคล้ายวันเกิดของท่านครบรอบ 92 ปี ได้มีพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (ฯพณฯ ชวน หลีกภัย) เป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้ เพื่อการเผยแพร่งานศิลปร่วมสมัย ศิลปสมัยใหม่ของบรรดาศิษย์อาวุโสที่เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมให้ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าชมศึกษาหาความรู้เรื่อยมา
วันที่ 27 มีนาคม 2530 กระทรวงศึกษาธิการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมศิลปากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น