๗.๐๒.๒๕๕๐

โมอาย




















Easter Island

เกาะอีสเตอร์(Easter Island) หรือตามภาษาถิ่นเรียกว่าเกาะราปานุย (Rapa Nui) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ซึ่งเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโล

ประวัติศาสตร์

ปี ค.ศ.1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น(คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโพลีนีเซีย)กับเผ่าหูยาว(คาดว่ามาจากอเมริกาใต้)ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงครามกัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่าแต่กลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในปี ค.ศ.1722 นักเดิน
ชาวดัตช์ได้เดินทางมาพบใน อาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึง ได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์
ในปี ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาว
สเปนที่เดินทางมาจากเปรูได้ค้นพบเกาะนี้อีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีประชากรราว 3000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุก ที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอบ ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในปี ค.ศ.1862 รัฐบาล
เปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับเข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่างๆจึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยบมาจากที่ใด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ประเทศชิลีก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ.1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง
โมอาย (ปี ค.ศ.1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น(คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโพลีนีเซีย)กับเผ่าหูยาว(คาดว่ามาจากอเมริกาใต้)ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงครามกัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่าแต่กลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในปี ค.ศ.1722 นักเดิน
ชาวดัตช์ได้เดินทางมาพบใน อาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึง ได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์
ในปี ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาว
สเปนที่เดินทางมาจากเปรูได้ค้นพบเกาะนี้อีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีประชากรราว 3000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุก ที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอบ ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในปี ค.ศ.1862 รัฐบาล
เปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับเข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่างๆจึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยบมาจากที่ใด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ประเทศชิลีก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ.1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง
) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมอายถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่ว
เกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี โมอายเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่ก็มีบางตัวซึ่งมี Pukau ลักษณะคล้ายหมวกเป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมอายอยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์
จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกระทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบ โมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม
ลักษณะที่เด่นชัดของโมอาย คือ ส่วนหัว แต่ก็มีโมอายหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมอายที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา
ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ รูปปั้นโมอายถูกแกะสลักโดยพวก
โพลิเนเชียน (Polynesian) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่า พวกโพลิเนเชียนอาจสร้างโมอายขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้น หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว
เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมอาย (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมอายซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไป เกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมอายไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมอายจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดี ๆ มาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก


โมอายได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีเหตุผลดังนี้
(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม



แหล่งอ้างอิง
Rediscovering Easter Island by Kathy Pelta, Copyright 2001 Lerner Publications Company, North Minneapolis, USA
Ancient Mysteries by Rupert Matthews, Copyright 1988 Wayland Limited East Sussex, England











ไม่มีความคิดเห็น: