๑.๒๓.๒๕๕๒

โรฮิงยาส์

โรฮิงยาส์


ประเทศพม่านับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีประชาชนที่เป็นคนเชื้อชาติพม่า กะเหรี่ยง มอญ คะชิ่น อารากัน ฯลฯ แต่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการลืมหรือทำให้ "ถูกลืม" จากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และ ไม่ได้รับการพูดถึงมากมายในเวทีวิชาการพม่าจนถึงในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า "โรฮิงยาส์" (Rohingyas)

ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอารากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung, Akyab และ Kyauktaw ชาวโรฮิงยาส์มีภาษาเป็นของตัวเอง คือ ภาษาอินดิค(Indic language) ที่มีความคล้ายกับภาษาเบงกาลีที่ใช้พูดในประเทศบังกลาเทศและอินเดีย (ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้พูดภาษามาลายูหรือภาษายาวีตามที่นักข่าวไทยบางสำนักซึ่งทำข่าวเรื่องโรฮิงยาส์อ้าง แต่พูดภาษาชิตตาโกเนี่ยน - Chittagonian ซึ่งเป็นภาษาคล้ายกับภาษาในพื้นที่ Chittagong ในประเทศบังกลาเทศ) ประชากรของชาวโรฮิงยาส์มีประมาณ 7 แสนถึง 1.5 ล้านคนในรัฐอารากันที่มีประชากรมากถึง 3 ล้านคน (ดู Myanmar - The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied รายงานของสำนักงานใหญ่ องค์กรนิรโทษกรรมสากล ประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงยาส์ยังมีความหลากหลายมากในปัจจุบัน มีรายงานและงานวิจัยหลายส่วนที่ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นผู้คนที่อยู่ในตอนเหนือรัฐอารากันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7-12 และได้นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐอารากันมีพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาค้าขายเป็นเวลายาวนาน แต่ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า การที่ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับสัญชาติทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อยหรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ ได้รับการคุกคามและเลือกปฏิบัติในทุกระดับจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค จนถึงไม่สามารถแต่งงานได้ ถูกบังคับให้เป็นทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่สามารถเดินทางออกนอกเพื่อไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนมากนอกจากนี้ชุมชนชาวโรฮิงยาส์ยังได้รับการปราบปรามอย่างต่อเนื่องโดยมีเหตุการณ์สำคัญในปี ค.ศ. 1962 1978 และ 1991 ทำให้มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์หลบหนีภัยเข้าไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดิอาราเบีย เป็นหลัก โดยที่ประเทศรองลงมา คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรด มาเลเซีย และประเทศไทย

สถานการณ์ในประเทศมาเลเซียและบังกลาเทศ

แม้ว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายที่ค่อนข้างประนีประนอมกับชาวโรฮิงยาส์ แต่จาอใสนโยบายค่อนข้างมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์ในมาเลเซียมักจะได้รับการคุมขังเป็นระยะเวลาหลายเดือนในค่ายกักกัน โดยไม่ได้อาหาร ยารักษาโรค หรือสภาพความเป็นอยู่ที่ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล บางกรณีได้รับการข่มขู่หรือซ้อมก่อนถูกส่งกลับตัวมาประเทศไทย ซึ่งมีหลาย ๆ ครั้งที่แม้แต่สำนักงานข้าหลวงผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ยังไม่สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือทางกฎหมายได้ ในส่วนของบังกลาเทศ สถานการณ์ของชาวโรฮิงยาส์ก็ไม่ได้เลวร้ายไปกว่ากันเท่าไร ในปี 1978 ประชาชนชาวโรฮิงยาส์มากกว่า 2 แสนคนลี้ภัยไปประเทศบังกลาเทศ หลังจาก ยุทธการกษัตริย์มังกร (Dragon King) โดยกองทัพทหารพม่าที่ทำขึ้น เพื่อ "กำจัดบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศ ซึ่งรวมถึงประชาชนและชาวต่างชาติที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย" กระบวนการนี้มีนโยบายโดยตรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์จนนำไปสู่การฆ่า ข่มขืน และทำลายมัสยิดต่างในพื้นที่ (ดูรายงาน The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied) ในช่วงปี 1992-1993 ประชากรโรฮิงยาส์อีกกว่า 250,000 คนหลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศอีกระลอกซึ่งได้มีรายงานเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับสถานการณ์การสังหารชาวโรฮิงยาส์อย่างเป็นระบบ (summary executions) การทรมาน และการข่มขืนในประเทศพม่า รวมถึงกรณีการถูกบังคับเป็นแรงงานเยี่ยงทาสโดยไม่ได้รับการค่าตอบแทนใดๆ โดยทหารพม่า ในระหว่างปี 1992-1994 รัฐบาลบังกลาเทศได้ส่งตัวประชาชนโรฮิงยาส์มากกว่า 5 หมื่นคนกลับพม่าโดยการทำความเข้าใจระหว่างรัฐบาลบังกลาเทศกับรัฐบาลพม่า และล่าสุดนี้บ้านพักของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์กว่า 6,000 คนที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำนาฟ (Naff) ติดกับชายแดนพม่า กำลังถูกรัฐบาลไล่ที่โดยอ้างว่าเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยโดยผิดกฎหมาย ซึ่ง UNHCR ได้ประนามการดำเนินการครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำ "ที่ไม่มีมนุษยธรรมเนื่องจากไม่มีการหาทางออกให้กับประชาชนเหล่านี้เลย" และมีการรายงานหลายครั้งว่ารัฐบาลบังกลาเทศได้พยายามไม่ให้ชาวโรฮิงยาส์ได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR

ชาวโรฮิงยาส์ในประเทศไทย

เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ชาวโรฮิงยาส์ในไทยกับสองประเทศที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความแตกต่างและคล้ายกันอยู่ กล่าวคือ จำนวนประชากรชาวโรฮิงยาส์ในไทยไม่ได้มีจำนวนมากเท่าในบังกลาเทศหรือในมาเลเซีย มีจำนวนประมาณ 10,000 ถึง 15,000 คนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระนองและมหาชัย แต่สถานการณ์ไม่ได้มีความเลวร้ายแตกต่างกันเลย เนื่องจากการที่ประเทศพม่าไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นประชาชนของพม่า อีกทั้งรัฐบาลไทยก็ยังไม่ได้มีการสำรวจประชาชนโรฮิงยาส์อย่างจริงจัง ทำให้หลายๆ ครั้งตกสำรวจ อีกทั้งความเป็นไปได้ในการให้สถานภาพทางการเมืองกับชาวโรฮิงยาส์ยังเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเชื้อชาติที่กระทรวงมหาดไทยจะให้สถานภาพทางการเมือง เช่น แม้ว่าชาวพม่าทั่วไปจำนวนหนึ่งจะสามารถลงทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ชาวโรฮิงยาส์ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้มีความรู้ในส่วนนี้และไม่เข้าใจว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์เป็นคนพม่า และหลายครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นคนบังกลาเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยาส์สามารถถูกกดขี่มากกว่าแรงงานพม่าเป็นพิเศษ รวมถึงการไม่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของประชาชนโรฮิงยาส์ของประชาชนทั่วไป เห็นได้จากการเข้าใจผิดๆ ว่าประชาชนชาวโรฮิงยาส์พูดภาษามาลายูหรือเป็นกลุ่มนักรบรับจ้าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุนแต่อย่างใด

วันตรุษจีน

ตรุษจีนคือ "วันชิวอิก" วันแรกของปี จะเริ่มต้นเมื่อหลังเที่ยงคืนของ "วันซาจั๊บ" ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี เรียกอีกอย่างว่า "วันถือ" เพราะถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นมงคล


ทั้งนี้ กิจที่คนจีนจะต้องกระทำในเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่ "วันจ่าย" ซึ่งเป็นวันจ่ายตลาดเตรียมข้าวของสำหรับไหว้ในวันรุ่งขึ้น รวมทั้งเป็นวันจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง


1. *ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ*
วันซาจั๊บ ช่วงเช้าหลังจากไหว้เจ้าในบ้าน คือ "ตีจูเอี๊ย" ไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงจึงไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะของผู้ไหว้ และมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร เกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติพกไปด้วย
นอกจากนี้ยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย เมื่อไหว้เสร็จจะจุดประทัด จากนั้นจะโปรยข้าวสารผสมเกลือ ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป
2. *รวมญาติกินเกี๊ยว*
ความสำคัญอีกประการของตรุษจีน คือเป็นวัน *รวมญาติ* โดยทุกคนจะเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวในวันซาจั๊บมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ และที่ต้องเป็น "เกี๊ยว" ก็เพราะลักษณะของเกี๊ยวที่เหมือนกับ "เงิน" ของจีน ให้ความหมายว่า ให้มั่งมีเงินทอง
3. *กินเจมื้อเช้า* คือมื้อแรกของปี
ส่วนในวันชิวอิก คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี เชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี
4. *ทำพิธีรับ "ไช่ซิงเอี้ย"*
"ไช่ซิงเอี้ย" เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บจนถึงก่อนตี 1
5. *ห้ามกวาดบ้าน*
ก่อนตรุษจีน จะมีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่ เมื่อถึงวันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวสี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันแรกของการเริ่มต้นทำงาน เพราะถือว่าจะกวาดเอาสิ่งที่เป็นมงคลทิ้งไป
6. *ติด "ตุ๊ยเลี้ยง" หรือคำอวยพรปีใหม่*
เมื่อก่อนคนจีนที่พอมีความรู้จะเขียน "ตุ๊ยเลี้ยง" เอง โดยใช้หมึกดำหรือสีทองเขียนคำอวยพรลงบนกระดาษสีแดง ถ้าไม่มีความรู้ก็จะไปจ้างมืออาชีพเขียนให้ ซึ่งแหล่งใหญ่ก็คือที่เยาวราช
คำอวยพรที่เขียนจะประกอบด้วยตัวอักษร 7 ตัว เขียนเป็นคำกลอน โดยมากจะอวยพรให้ทำมาค้าขึ้น ให้มั่งมีเงินทอง ติดตามสองข้างประตูบ้าน และมีอีกแผ่นสำหรับติดทางขวางตรงกลางทางเข้า-ออก เขียนคำว่า "ชุก ยิบ เผ่ง อัง" แปลว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย
รวมทั้งติดภาพเด็กผู้หญิง-เด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า "หนี่อ่วย" ซึ่งเป็นภาพมงคลของจีน ถือเป็นงานศิลปะที่สำคัญอีกอย่างนอกเหนือจากการตัดกระดาษ มักติดที่ประตูหน้าบ้าน
7. *ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส*
วันตรุษจีนควรใส่เสื้อผ้าใหม่ที่มีสีสันสดใส
8. *ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่*
วันชิวอิกทุกคนจะนำส้ม 4 ผล ไปกราบผู้ใหญ่ขอพร เจ้าบ้านเองนอกจากจะเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ 1 พาน และลูกสมอจีนไว้รับแขกแล้ว เมื่อมีผู้มาอวยพร จะรับส้มขึ้นมา 2 ผล และนำส้มในบ้านที่เตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล
9. *รับอั่งเปา* ข้อนี้สำคัญ
ทั้งอั่งเปาและแต๊ะเอีย ถึงแม้จะเป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ แต่ทุกคนก็รอคอยจริงมั้ย
10. *ไหว้เจ้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต*
ไหนๆ ก็ปีใหม่ รับสิ่งใหม่ๆ รับเงิน รับทอง และความมั่งมีศรีสุขแล้ว ก็ควรไหว้เจ้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วย

๑๐.๑๒.๒๕๕๑



เกาะ "โบรา โบร่า" เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะตาฮิติเป็นทะเลที่สวยที่สุดในโลก ตาฮิติ เป็นหมู่เกาะในเขตแปซิฟิกใต้ ค้นพบครั้งแรกไร่เรี่ยกันระหว่างชาวอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็พยายามช่วงชิงเข้าอยู่ในการปกครองของตัวเอง จนกระทั่งเกือบร้อยปีที่แล้วจึงได้ชื่อว่า French-Polynesiaตาฮิติ ขึ้นชื่อทางด้านทรัพยากรทางทะเลที่เอื่อเฟื้อให้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ด้าน การท่องเที่ยวตลอดมาจนได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งหมู่เกาะทะเลใต้" ที่นี่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิค


๗.๒๔.๒๕๕๑

ไอเดียให้หัดออมค้าบบ


พอใจสิ่งที่มีอยู่


ดอนแนะนำให้ใช้ความรู้สึกรักศักดิ์ศรี ภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง เป็นนิสัยกับความรู้สึกที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคฟุ่มเฟือยไม่ออมเงินได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยผลักดันให้คุณมีวินัยเดินตามงบใช้จ่าย พร้อมกับออมเงินได้มากขึ้น และจ่ายน้อยลงอย่างไม่รู้ตัว
“ขอให้คิดถึงความจำเป็นและความเพียงพอ ตัวอย่างเช่น โซฟารับแขกหรือใช้นั่งที่คุณมีอยู่ดูแล้วคล้ายกับโซฟาทั่วไปไม่สวยหรู แต่ถ้าโซฟายังใช้ได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตซื้อใหม่ หรือด้วยเหตุผลที่ไม่เข้าท่าเพียงหวังให้คนอื่นออกปากชม เพราะความเพียงพอหรือรู้สึกพอ จะช่วยให้คุณไม่อยากจ่าย หันมาออมเงินแทน” ดอนให้คำแนะนำ
ดอนย้ำว่าให้รู้สึกผ่อนคลายกับตัวเอง รักตัวเองในสิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่ ขอให้พยายามเตือนใจตัวเองเสมอ หากเกิดความอยากได้อยากมีว่า การซื้อสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เกินความจำเป็น มีแต่จะก่อหนี้ ไม่ได้ช่วยคุณออมเงินได้เลย


สนุกออมจากงานอดิเรก


คนที่มีงานอดิเรก หรือกิจกรรมยามว่าง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเย็บปักถักร้อย การเขียนหรืองานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ ดอนแนะนำว่าขอให้ใช้ความชื่นชอบส่วนตัวให้เป็นประโยชน์ แม้ว่าความชอบต้องใช้เวลาและพัฒนาการในการฝึกฝนก็ตาม
แต่ความพยายามบวกความมุ่งมั่นตั้งใจ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะช่วยคุณได้ไม่ช้าก็เร็ว ให้สามารถใช้พรสวรรค์กับความชอบในงานอดิเรก เป็นทางเลือกทำรายได้เข้ากระเป๋าเป็นเงินออม นอกเหนือจากรายได้จากงานประจำที่ทำอยู่ ก็เป็นได้ในอนาคต


ช่วยเหลือผู้ลำบากกว่า


ลองใช้เวลาว่างเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกว่าตัวเอง เป็นอีกความคิดหนึ่ง ที่ดอนเชื่อว่าจะช่วยให้คุณรู้จักการใช้ชีวิตแบบพอเพียง และไม่ประมาทที่จะเก็บหอมรอมริบไว้ยามแก่เฒ่า
การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และช่วยคนอื่นที่ไม่มีโอกาสได้รับความสุขสบายอย่างที่คุณได้รับ ยังช่วยกระตุ้นให้จิตใจของคุณซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ไม่คิดฟุ้งเฟ้ออวดร่ำอวดรวยในสังคม
การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ดอนย้ำว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากมายให้ยุ่งยาก หรือเสียเงินมากมายเกินสถานะตัวเอง เพียงร่วมกับคนอื่นๆ ให้ทุนสร้างที่พักพิง หรือทำอาหารดีต่อสุขภาพแจกจ่ายให้ผู้อดอยากไม่มีจะกิน ง่ายเท่านี้จะค่อยบ่มเพาะความคิด ให้ตัวเองรู้จักอดออม เพียงพอและแบ่งปัน


รู้จักบอกปัดบ้าง


ไอเดียนี้ดอนอยากให้ปรับนิสัยความเป็นคนตรงให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ทางการเงิน หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนกับความเป็นอยู่พอเพียงของตัวเองบ้าง เพราะทุกคนมีสิทธิส่วนตัวที่จะเปลี่ยนแผนหรือเปลี่ยนใจไม่ทำอะไรก็ได้
ดอนแนะนำว่าหากคุณเคยมีพันธะ ช่วยเหลือให้ทุนอุดหนุนกิจกรรมใดที่เป็นการกุศลมาก่อน แต่เมื่อการช่วยเหลือนั้นๆ ไม่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณดีขึ้น หรือไม่ยืดหยุ่นพอที่จะเก็บหอมรอมริบได้บ้าง ขอให้ยอมรับสภาพของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบ่งปันหรือให้ความช่วยเหลือการเงิน แก่องค์กรการกุศลหรือผู้ลำบากกว่าในทันที


ลดทำกิจกรรมสิ้นเปลือง


เลี่ยงหรือลดที่จะเข้าสังคมทำกิจกรรมมากเกินไป จนทำให้ตัวเองกับครอบครัวยุ่งอยู่กับกิจกรรมล้นมือทั้งวัน ทำตัวกับจิตใจให้ว่างเปล่าและพักผ่อนเสียบ้าง ปล่อยให้รถจอดอยู่กับที่ ปิดทีวีกับหยุดนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ท่องอินเทอร์เน็ตเสียบ้าง เพียงลดกิจกรรมสิ้นเปลืองพลังงานเหล่านี้ จะช่วยคุณออมหรือประหยัดเงินได้ไม่มากก็น้อย
ดอนกลับสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว ได้พบปะพูดคุยรับประทานอาหารร่วมกัน หรือว่างๆเล่นเกมหรือกิจกรรมภายในครอบครัวสนุกด้วยกัน ควรกำหนดตารางเวลาให้หมดไปกับธุระนอกบ้านเพียง 1หรือ 2 วันก็พอ เพื่อลดความสับสนวุ่นวายอยู่กับงานและสังคมนอกบ้านช่วงวันทำงาน


ฝึกใช้เหตุผลก่อนช้อป


ดอนแนะนำนักช้อป หากต้องการเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนออมอย่างง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยการเตรียมจิตใจตัวเองให้พร้อม ก่อนเดินเข้าไปในศูนย์การค้า คิดให้ดีก่อนว่าจะซื้ออะไรและเพื่ออะไรบ้าง
หรือเมื่อคุณโชคดีได้เงินก้อนใหญ่ไปบริหาร ขอให้จินตนาการไว้ล่วงหน้า และคิดถึงเหตุกับผลก่อนว่าคุณจะรับผิดชอบจัดการกับเงินที่มีอยู่ ภายใต้สถานการณ์ข้างหน้าที่มีแต่ความไม่แน่นอนอย่างไร และตัดสินใจใช้หรือบริหารเงินให้ดีได้อย่างไร


มีใจเอื้อเฟือเผื่อแผ่


ไอเดียสุดท้ายนี้ดอนเชื่อว่าไม่ยาก เพราะการเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่เป็นนิสัยฝังเข้าไปในสายเลือดของคนไทยอยู่แล้ว ดอนเชื่อว่าการใช้แรงกายเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากจะช่วยประหยัดทุนทรัพย์ของผู้ช่วยแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่ดี และดีกว่าการให้ของขวัญหรูราคาแพงเสียอีก
ดอนยกตัวอย่างง่ายๆ และเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนได้รับความช่วยเหลือในยามรถยนต์ของพวกเขามีปัญหา ถ้าคุณเป็นมีผู้ใจดีมีน้ำใจ มีความรู้ในการซ่อมแซมรถเข้ามาช่วย ย่อมทำให้ผู้รับความช่วยเหลือมีความสุขไม่ต้องสิ้นเปลืองหรือเสียเวลาเข้าอู่ซ่อม
การทาสีบ้านที่ใช้ทักษะง่ายๆ หากคุณทำได้จะช่วยเพื่อนบ้านรู้สึกดีกับคุณ เป็นการช่วยพวกเขาประหยัดรายจ่ายจ้างช่างทาสีไปได้ส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อเพื่อนบ้านมีน้ำใจช่วยดูแลลูกๆ ของคุณ ในช่วงเวลาสั้นเพียง 1-2 ชั่วโมง ถือเป็นการช่วยเหลือต่างตอบแทนช่วยคุณประหยัดเงินค่าจ้างพี่เลี้ยงหรือค่าบริการรับดูแลเด็กเล็กได้

๗.๐๙.๒๕๕๑


"สโตนเฮนจ์" กองหินยักษ์อายุกว่า 5,000 ปี ที่อยู่ทางตอนใต้ของอังกฤษเป็นปริศนามายาวนานนับศตวรรษที่คนยุคหลังสงสัยว่าแท้จริงคือสถานที่อันใดกันแน่ บ้างก็ว่าเป็นหอดูดาว บ้างก็ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิในสมัยโบราณ แต่ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็คลายปมจนได้ว่าที่แท้ก็เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพของชนเผ่ามนุษย์ยุคก่อนคริสตกาล
วารสารนิวไซเอนติสต์รายงานว่าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (University of Sheffield) สหราชอาณาจักร ที่นำทีมโดยไมค์ ปาร์กเกอร์ เพียร์สัน (Mike Parker Pearson) ได้พิสูจน์โครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่ขุดค้นได้ในบริเวณที่ตั้งของ "สโตนเฮนจ์" (Stonehenge) กองหินขนาดยักษ์ในเมืองวิลท์ไชร์ทางตอนใต้ของอังกฤษ พบหลักฐานบ่งชี้ว่าอนุสาวรีย์หินดังกล่าวเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพและเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความตายของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์
นักวิจัยใช้วิธีตรวจวัดการแผ่รังสีของธาตุคาร์บอนเพื่อคำนวณอายุของโครงกระดูกและฟันที่ขุดขึ้นมาได้จากบริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อช่วงทศวรรษที่ 50 ผลการพิสูจน์บ่งชี้ว่าโครงกระดูกเหล่านั้นถูกฝังอยู่ในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ประมาณเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่สโตนเฮนจ์เริ่มถูกสร้างขึ้น และคาดว่าน่าจะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพสำหรับชนชั้นสูงในสมัยยุคหินยาวนานต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 500 ปี ขณะที่ก่อนหน้านี้นักโบราณคดีเคยสันนิษฐานไว้ว่าบริเวณดังกล่าวถูกใช้เป็นฌาปนสถานแค่ในระหว่าง 2,800-2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราชเท่านั้น
"ผมไม่คิดว่าคนธรรมดาสามัญจะได้รับการประกอบพิธีศพที่บริเวณสโตนเฮนจ์นี้แน่นอน" เพียร์สันแสดงความคิดเห็นพร้อมกับแจงต่อว่านักโบราณคดีต่างสันนิษฐานกันเรื่อยมาว่าสโตนเฮนจ์อาจถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นปกครองหรือบางทีอาจเป็นราชวงศ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ก็บ่งชี้ว่าเป็นตามนั้น อีกทั้งยังถูกใช้เป็นสุสานของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย
หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ของสหราชอาณาจักรระบุว่าสโตนเฮนจ์ส่วนแรกถูกสร้างขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยถูกขุดให้เป็นร่องดินและกำแพงดินล้อมเป็นวงกลมที่ประกอบด้วยหลุมจำนวน 56 หลุมที่บรรจุเสาไม้ไว้ภายใน ต่อมา 2,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หินสีน้ำเงิน (bluestone) จำนวน 82 ก้อน ซึ่งบางก้อนหนักถึง 4 ตัน ได้ถูกลำเลียงมาตั้งไว้เป็นวงกลม 2 วงภายในกำแพงดินดังกล่าว และหลังจากนั้นอีกราว 150 ปี หินซาร์เซน (sarsen stone) จำนวนหนึ่งซึ่งแต่ละก้อนหนักราว 50 ตันก็ถูกลำเลียงมาไว้ในบริเวณเดียวกันและกลายเป็นสโตนเฮนจ์ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
เดลิเมล์รายงานต่อว่าเมื่อช่วงหลายสิบปีก่อนนักโบราณคดีขุดค้นพบสุสานจำนวน 52 สุสานที่อยู่บริเวณรอบสโตนเฮนจ์ โดยโครงกระดูกจากสุสาน 3 แห่ง ถูกเคลื่อนย้ายนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ซาลิสเบอรี (Salisbury Museum) ซึ่งโครงกระดูกเหล่านี้เองที่นักวิจัยใช้เป็นตัวอย่างศึกษา โครงกระดูกที่มีอายุมากที่สุดอยู่ระหว่าง 3030-2880 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่หลุมฝังศพในโสตนเฮนจ์ถูกสร้างขึ้น โครงกระดูกถัดมามีอายุราว 2930-2870 ปีก่อนคริสต์ศักราช และโครงกระดูกสุดท้ายมีอายุ 2570-2340 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หินซาร์เซนถูกลำเลียงมาไว้ที่สโตนเฮนจ์
กลุ่มนักวิจัยเชื่อว่าน่าจะมีร่างที่ถูกฝังอยู่ที่บริเวณสโตนเฮนจ์มากถึง 240 ร่าง ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยทีมเดียวกันนี้เคยพบหลักฐานสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ในละแวกใกล้เคียงกับสโตนเฮนจ์ด้วย ซึ่งพวกเขาสันนิษฐานว่าสถานที่ทั้ง 2 แห่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทีมีความสัมพันธ์กัน
อย่างไรก็ดีนิวไซเอนติสต์รายงานว่าคริสโตเฟอร์ ชิปปินเดล (Christopher Chippindale) นักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยา (Museum of Archaeology and Anthropology) มหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ (University of Cambridge) แสดงความเห็นว่า แม้ว่าผลการพิสูจน์การแผ่รังสีของธาตุคาร์บอนจากโครงกระดูกที่ถูกขุดมาจากบริเวณสโตนเฮนจ์จะบ่งชี้ว่าสโตนเฮนจ์ถูกใช้เป็นสุสาน ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นคือจุดประสงค์แรกมนุษย์ยุคก่อนสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมา
เช่นเดียวกับวัดหรือโบสถ์ที่มีหลุมฝังศพจำนวนมาก แต่นั่นก็ไม่ใช่จุดประสงค์แรกที่สร้างโบสถ์นั้นขึ้นมา เขายังระบุอีกว่าความจริงเรื่องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าฉงนทั้งหมด ยังไม่ใช่คำตอนสุดท้ายที่พวกเราต้องการ

๖.๒๓.๒๕๕๑

La dune de pilat



La dune de Pilat



La plus haute dune de sable d ' Europe.



"Quant la nature voit grand, tr่s grand..."



Situ้e เ l'entr้e du Bassin d'Arcachon, face เ la Pointe du Cap Ferret, la Dune du Pilat constitue la plus importante formation sableuse d'Europe. Avec ses 105 m่tres * de haut, 2700 m่tres de long, 500 m่tres de large et ses 60 millions de m3 de sable, la "Grande Dune" reste le site le plus fr้quent้ du littoral girondin en enregistrant plus d'1 million de visiteurs par an. Elle a ้t้ class้e "Grand site national" en 1978.(* selon les mesures effectu้es en 1980 par l'Institut de G้ologie du Bassin d'Aquitaine).



-- Formation de la Dune du Pilat --



Contrairement เ une id้e re็ue, la Dune du Pilat est d'une formation relativement r้cente. Elle ne mesurait que 35 m่tres de haut en 1855. Quant เ son origine, elle est li้e, selon les sp้cialistes, เ la destruction d'un ้norme banc de sable qui s'้tirait au 18่me si่cle en avant de la c๔te actuelle et เ l'apport constant de ce sable par le vent.



-- Evolution --



Dans une moindre mesure, l'alimentation en sable se perp้tue encore aujourd'hui grโce au Banc d'Arguin. Mais le lent d้placement de la passe sud vers le sud engendre une diminution du ph้nom่ne qui semble maintenant produire ses effets aux "Gaillouneys" (entre la plage du Petit-Nice et la Dune du Pilat).N้anmoins, malgr้ cette att้nuation, la Dune du Pilat n'est toujours pas stabilis้e, et si elle est quelque peu rong้e เ l'Ouest par l'Oc้an, elle continue d'avancer vers la for๊t qui borde son flanc Est เ raison de 4 m่tres par an environ.